Page 55 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 55

53
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  เรียกเก็บค่าบริการ (Fee - for - Service Hospital) เช่น อาจกำาหนดเป็นสินค้าหรือบริการที่ถูกควบคุมราคา เป็นต้น

                             ๖.๑.๗  คณะรัฐมนตรี  โดยกระทรวงสาธารณสุข  สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กระทรวง

                  การคลัง (กรมบัญชีกลาง) สำานักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรกำาหนดมาตรการการช่วยเหลือและ
                  เยียวยาผู้เสียหายอันเนื่องมาจากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ดังนี้

                                    (๑) ม�ตรก�รระยะเร่งด่วน
                                        ควรกำาหนดมาตรการการบริหารจัดการและดำาเนินการให้ความช่วยเหลือและเยียวยา
                  ผู้เสียหายอันเนื่องมาจากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ เช่น ช่วยเหลือผู้เสียหายที่ถูก

                  โรงพยาบาลฟ้องร้องเป็นคดีความเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเข้ามา
                  เป็นคู่กรณีด้วย หรือขอให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่ผู้เสียหายจ่ายไปก่อน
                  เป็นต้น


                                    (๒) ม�ตรก�รระยะย�ว
                                        ควรกำาหนดมาตรการ การบริหารจัดการ และดำาเนินการให้ความช่วยเหลือและเยียวยา
                  โดยมีมาตรการที่ยั่งยืน โดยเฉพาะมาตรการจูงใจ เช่น การลดหย่อนภาษีในส่วนต้นทุนที่โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วม

                  หรือร่วมมือตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน การหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบกับโรงพยาบาล
                  เอกชนเพื่อกำาหนดเพดานอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในอัตราที่เหมาะสม การป้องกันเพื่อไม่ให้

                  เกิดการฟ้องร้องจากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เป็นต้น


                        ๖.๒  ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
                             ๖.๒.๑  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงสาธารณสุข (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) และหน่วยงาน

                  ที่เกี่ยวข้อง ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า
                  “ผู้รับอนุญาตและผู้ดำาเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย

                  ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำาเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตาม
                  มาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ”  เพิ่มเติมว่า  “ให้สถานพยาบาลแจ้งสิทธิการรักษา
                  กรณีเจ็บป่วยแก่ผู้ป่วยหรือญาติ และให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”

                             ๖.๒.๒  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงการคลัง สำานักงานคณะกรรมการกำากับและส่งเสริมการ

                  ประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำาหนดความเสียหาย
                  ที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น
                  พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๓ จากเดิม “จำานวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินสามหมื่นบาท สำาหรับความเสียหายต่อร่างกาย

                  ตามข้อ ๒ (๑)”  โดยตัดคำาว่า “แต่ไม่เกินสามหมื่นบาท” ออก
                             ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ รับทราบรายงานผลการพิจารณาเพื่อ

                  เสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเรื่องดังกล่าว และผลการดำาเนินการตามข้อเสนอแนะ
                  ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยมีประเด็นที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  เช่น การศึกษา วิเคราะห์และประเมินผลข้อดี และปัญหาการนำานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ไปปฏิบัติ  กระทรวง

                  สาธารณสุขได้ทบทวนนโยบายดังกล่าว  และเห็นว่า ควรให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นหน่วย
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60