Page 54 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 54

52   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                     ๖.๑  ข้อเสนอแนะนโยบาย

                           ๖.๑.๑  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงสาธารณสุข สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบัน

               การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรศึกษา วิเคราะห์และประเมินผล ข้อดี ปัญหา หรือ
               สิ่งที่ยังท้าทายในการนำานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ไปปฏิบัติ  รวมทั้งการศึกษาและประเมินผลเกี่ยวกับจำานวน
               งบประมาณรองรับสำาหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล  ระบบบริหารจัดการระหว่างโรงพยาบาลตามสิทธิหรือคู่สัญญา

               และโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ใช่คู่สัญญากับระบบบริการสาธารณสุข กระบวนการเบิกจ่ายทดแทนค่าใช้จ่ายในการ
               รักษาพยาบาล รวมทั้งอัตราที่สามารถเบิกจ่ายได้ วิธีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีสิทธิ เป็นต้น

                           ๖.๑.๒  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงสาธารณสุข สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบัน
               การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรประชาสัมพันธ์นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ แก่ประชาชน

               และผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้ทราบถึงเงื่อนไขหลักเกณฑ์อาการเจ็บป่วยตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ มีการให้คำาปรึกษา
               แก่ผู้เสียหายหรือผู้เจ็บป่วยที่เข้าถึงง่ายและตลอดเวลา (๒๔ ชม.) มีการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย
               หรือผู้ได้รับผลกระทบเนื่องจากการใช้นโยบายนี้ที่สะดวกและเป็นธรรม

                           ๖.๑.๓  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงสาธารณสุข  สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  และ
               หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดระบบการนำานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ไปปฏิบัติโดยไม่เป็นภาระแก่โรงพยาบาล

               เอกชน รวมถึงโรงพยาบาลที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามสิทธิหรือคู่สัญญา มีการกำาหนดแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา
               ที่อาจเกิดขึ้นจากโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลอื่นใดที่ให้การรักษาพยาบาล เช่น การไม่แจ้งสิทธิการรักษา

               กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบ  การให้ผู้ป่วยหรือญาติลงนามในสัญญาผูกพันให้ต้องจ่ายค่ารักษา
               พยาบาลก่อนการให้บริการ  การคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตราที่สูง การไม่ให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจนกว่า
               จะได้รับค่ารักษาพยาบาลครบจำานวน รวมทั้งจัดให้มีการอบรมบุคลากรของโรงพยาบาลเกี่ยวกับการให้บริการ

               แก่ผู้ป่วยในนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เป็นต้น

                           ๖.๑.๔  คณะรัฐมนตรี  โดยกระทรวงสาธารณสุข  (สำานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)  สำานักงาน
               หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) กระทรวงแรงงาน (สำานักงานประกันสังคม) และ
               หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรกำาหนดมาตรการและจัดสรรเงินกองทุนเพื่อรองรับการปฏิบัติตามนโยบายเจ็บป่วย

               ฉุกเฉินฯ อย่างเพียงพอโดยไม่ให้เป็นภาระของผู้ป่วย
                           ๖.๑.๕  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงสาธารณสุข  สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กระทรวง

               พาณิชย์  กระทรวงการคลัง  สำานักงานคณะกรรมการกำากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)  และ
               หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรกำาหนดวิธีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ
               จากรถตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ โดยให้มีระบบการประสานงานในการเบิกจ่ายที่มีประสิทธิภาพ เช่น กำาหนด

               หน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ
               จากรถ กำาหนดอัตราค่าเสียหายเบื้องต้นจากกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินอุบัติเหตุจากรถให้ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล

               เท่าที่เป็นจริง เป็นต้น
                           ๖.๑.๖  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงสาธารณสุข  สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  และ

               สำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               ควรกำาหนดมาตรการควบคุมอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงโรงพยาบาลทางเลือกหรือ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59