Page 53 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 53

51
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                             ๕.๔.๒  กำาหนดวิธีการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ เนื่องจากอุบัติเหตุ

                  จากรถ เช่น การประสานงานหรือเชื่อมต่อการดูแลผู้ประสบภัยภายใต้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งสำานักงาน
                                                                            ๔
                  คณะกรรมการกำากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)   เป็นผู้ดูแลเงินกองทุนดังกล่าวตาม
                  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๔ และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัย
                  จากรถ จำากัด รับผิดชอบรับคำาร้องและเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งทบทวนอัตราค่าเสียหายเบื้องต้น
                                                 ๕
                  ซึ่งปัจจุบันกำาหนดไว้ไม่เกินสามหมื่นบาท    เป็นให้ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลเท่าที่เป็นจริง

                        ๕.๕  รัฐควรกำาหนดมาตรการควบคุมอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงที่เป็น
                  โรงพยาบาลทางเลือกหรือเรียกเก็บค่าบริการ (Fee - for - Service Hospital) เช่น กำาหนดเป็นสินค้าการควบคุม
                  ราคาหรือเป็นสินค้าหรือบริการภายใต้การดูแลของสำานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น


                        ๕.๖  รัฐควรกำาหนดมาตรการการช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย อันเนื่องมาจากนโยบายเจ็บป่วย
                  ฉุกเฉินฯ ดังนี้

                             (๑)  ม�ตรก�รระยะเร่งด่วน
                                 ควรกำาหนดมาตรการการบริหารจัดการและดำาเนินการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย
                  อันเนื่องมาจากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ เช่น ช่วยเหลือผู้เสียหายที่ถูกโรงพยาบาล

                  ฟ้องร้องเป็นคดีความเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเข้ามาเป็นคู่กรณีด้วย
                  หรือขอให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่ผู้เสียหายจ่ายไปก่อน เป็นต้น

                             (๒)  ม�ตรก�รระยะย�ว

                                 ควรกำาหนดมาตรการการบริหารจัดการ และดำาเนินการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาโดยมี
                  มาตรการที่ยั่งยืน โดยเฉพาะมาตรการจูงใจให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมหรือร่วมมือให้บริการตามนโยบายนี้
                  เช่น การลดหย่อนภาษีในส่วนต้นทุนที่โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมหรือร่วมมือตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน การหา

                  ข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อกำาหนดเพดานอัตราค่ารักษาพยาบาล
                  กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในอัตราที่เหมาะสม การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องจากนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เป็นต้น



                  ๖.  ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ

                       เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                       คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและ
                  คุ้มครองสิทธิมนุษยชน พิจารณาแล้ว เห็นควรมีข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อ
                  คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้




                  ๔  กรมการประกันภัย (เดิม)  ซึ่งต่อมาเมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะกรรมการกำากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
                     พ.ศ. ๒๕๕๐ ส่งผลให้้กรมการประกันภัย ปรับเปลี่ยนสถานะองค์กรจากส่วนราชการเป็นสำานักงานคณะกรรมการกำากับและส่งเสริม
                     การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
                  ๕  กฎกระทรวงกำาหนดความเสียหายที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหาย
                     เบื้องต้น พ.ศ. ๒๕๕๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๓ (๑)
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58