Page 52 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 52
50 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตามความจำาเป็นไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับ
บริการทางการแพทย์ โดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการ และโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษา
พยาบาลจะต้องรับผิดชอบการให้บริการทางการแพทย์ต่อจากโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาพยาบาล
ตั้งแต่เวลาที่ได้รับแจ้ง สำาหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งซึ่งผู้ประกันตนสำารองจ่าย สำานักงานประกัน
สังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินหรือประสบอันตรายได้
๕. ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบาย และ
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้พิจารณาคำาร้อง ข้อมูล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ได้รับ
ผลกระทบแล้ว ได้ให้ความเห็นต่อนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ดังนี้
๕.๑ เมื่อพิจารณารายละเอียดจากคำาร้องในรายงานผลการพิจารณาฯ ฉบับนี้ เห็นว่า ผู้เสียหาย
หรือผู้ได้รับผลกระทบอยู่ในข่ายเจ็บป่วยกรณีฉุกเฉินทั้งสิ้น โดยหลักการนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ เป็นนโยบาย
ที่ดี ปัญหาของนโยบายนี้เกิดจากเป็นนโยบายที่กำาหนดขึ้นโดยไม่มีข้อมูลที่จำาเป็นรองรับ เช่น จำานวนงบประมาณ
ที่พอเพียงสำาหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล ระบบบริหารจัดการรองรับที่ดีในการสร้างความเข้าใจแก่โรงพยาบาล
เอกชน รวมถึงโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับระบบบริการสาธารณสุขใดเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
อัตราการเบิกจ่าย และการส่งต่อผู้ป่วยเมื่อพ้นระยะวิกฤต ที่ผ่านมาพบว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนพ้น
วิกฤตแล้ว และโรงพยาบาลเอกชนที่ให้การรักษาประสานกับโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อส่งต่อผู้ป่วย ปรากฏว่า
ไม่มีเตียงจึงเป็นภาระของผู้ป่วยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลและไม่อยู่ในเงื่อนไขเจ็บป่วยฉุกเฉิน
๕.๒ การประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐยังไม่มีประสิทธิภาพ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ
แก่ประชาชนในหลักเกณฑ์นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ทำาให้ประชาชนหรือผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้และ
ความเข้าใจหลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับเจ็บป่วยฉุกเฉินซึ่งแบ่งประเภทตามความเร่งด่วนหรือวิกฤต โดยแทน
ด้วยสัญลักษณ์ “สี” จึงควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหรือผู้ป่วยทราบบนฐานการมีข้อมูลที่ครบถ้วนหรือ
เพียงพอ รวมทั้งมีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบเนื่องจากการใช้นโยบายนี้
๕.๓ รัฐควรมีระบบการนำานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ไปปฏิบัติ โดยไม่เป็นภาระแก่โรงพยาบาลเอกชน
รวมถึงโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา และกำาหนดแนวทางหรือมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา เช่น โรงพยาบาล
ไม่แจ้งสิทธิการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบ โรงพยาบาลให้ผู้ป่วยหรือญาติลงนามในสัญญา
ผูกพันให้ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อนการให้บริการ โรงพยาบาลคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตราที่สูง โรงพยาบาล
ไม่ให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจนกว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลครบจำานวน เป็นต้น
๕.๔ รัฐควรกำาหนดมาตรการเกี่ยวกับกองทุน ดังนี้
๕.๔.๑ จัดสรรเงินกองทุนรองรับการปฏิบัติตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ อย่างเพียงพอ
โดยไม่ให้เป็นภาระของผู้ป่วย