Page 20 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 20

18   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น ข้อมูลทางวิชาการ หลักการด้านสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย

               เป็นภาคีและที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่าประเทศไทยควรเข้าเป็นภาคี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน
               การยกระดับมาตรฐานการทำางานของรัฐบาล  ตลอดจนหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และ

               ฝ่ายตุลาการ ให้สอดคล้องกับข้อผูกพันตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประไทยเป็นภาคี

                     การจัดทำาข้อเสนอแนะในรายงานผลการพิจารณานี้ มีขั้นตอนคือ
                           ๑.๒.๑  การกำาหนดหัวข้อศึกษา มีที่มา คือ

                                 (๑)  ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านบริหาร
                                     ด้านคุ้มครอง ด้านคดีสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                 (๒)  ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผ่านทาง

                                     คณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและกลั่นกรองรายงานผลการตรวจสอบ
                                     การละเมิดสิทธิมนุษยชน

                                 (๓)  พัฒนาจากข้อเสนอ/ข้อค้นพบในรายงานการศึกษา/วิจัยที่คณะกรรมการ
                                     สิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือคณะอนุกรรมการฯ ศึกษา หรือมอบหมายให้
                                     สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติศึกษา

                                 (๔) ข้อเสนอจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ หรือตามที่ฝ่ายเลขานุการ
                                     คณะอนุกรรมการฯ ขอหารือประธาน/ที่ประชุม

                           ๑.๒.๒  การจัดทำารายงานผลการพิจารณาฯ
                                 (๑)  ศึกษา วิเคราะห์จากเอกสาร กฎหมายและหลักการด้านสิทธิมนุษยชน

                                 (๒)  รับฟังความเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
                                     มีอำานาจหน้าที่ โดยทำาเป็นหนังสือ หรือจัดประชุมกลุ่มย่อย

                                 (๓)  จัดทำาและปรับปรุงร่างรายงานตามความเห็นของที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ

                           ๑.๒.๓ การเสนอขอความเห็นชอบ มี ๒ ขั้นตอน คือ
                                 (๑)  ขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ

                                 (๒)  ขอความเห็นชอบจากที่ประชุม กสม. ด้านบริหารหรือด้านคุ้มครอง

                           ๑.๒.๓  การเสนอคณะรัฐมนตรีและ/หรือรัฐสภา
                                 (๑)  ทำาหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีและเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้
                                     บรรจุเป็นวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย

                                     การเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
                                 (๒)  ทำาหนังสือกราบเรียนประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ
                                     ประธานวุฒิสภา กรณีมีข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายลำาดับ

                                     พระราชบัญญัติขึ้นไป
                                 (๓)  ทำาหนังสือแจ้งหน่วยงานของรัฐที่มีอำานาจหน้าที่เพื่อประสานงานในเบื้องต้น

                                     คู่ขนานกับการเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
                                 (๔) ทำาหนังสือแจ้งผู้ร้องเรียน (กรณีมีที่มาจากรายงานผลการพิจารณาคำาร้องฯ)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25