Page 40 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 40

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

                        โดยทั่วไปการใชที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงอยูเสมอ กรมพัฒนาที่ดินไดศึกษาเปรียบเทียบการใชที่ดิน

               บางประเภทของประเทศไทย พบวา ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินตลอดเวลา ชวงป พ.ศ. 2518
               เริ่มการปฏิรูปที่ดินโดยสวนใหญนําพื้นที่ปาเสื่อมโทรมมาจัดใหราษฎร ทําใหที่ดินปาไมกวา 30 ลานไร

               เปลี่ยนมาเปนพื้นที่เกษตรกรรม แตก็ไมเกิดการกระจายการถือครองที่ดินจริงเพราะไมนานที่ดินที่จัดสรร
               ก็กลับไปอยูกับนายทุน ผลการดําเนินงานปฏิรูปที่ดินตั้งแตป พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2547 ไดมอบหนังสือ

               ใหเขาทําประโยชนในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01) ประเภทที่ดินของรัฐเปนพื้นที่ 24.41 ลานไร
                        การศึกษาเปรียบเทียบในป พ.ศ. 2523, พ.ศ. 2529, พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2544 ในขณะที่พื้นที่ปาไม

               ลดลง พื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น รวมทั้งพื้นที่ชุมชนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เทาตัวจาก พ.ศ. 2523 อยางไรก็ตาม
               เปนที่นาสังเกตวาตั้งแต พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2541 พื้นที่นาไดลดลงประมาณ 3.5 ลานไร โดยถูกเปลี่ยนสภาพ

               ไปเปนโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยูอาศัย สนามกอลฟ รีสอรท หรือที่พักผอนหยอนใจ ตั้งแต พ.ศ. 2529 เปนตนมา
               พื้นที่นาไดลดลงประมาณ 3.5 ลานไร ขณะเดียวกันพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตวนํ้าไดเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ลานไร

               แตในชวงป พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544 พื้นที่นาไดเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 ลานไร เนื่องจากหลังวิกฤตการณ
               ทางเศรษฐกิจในป พ.ศ. 2540 ไดมีการเคลื่อนยายแรงงานกลับสูภาคเกษตรมากขึ้น

                        สําหรับพื้นที่ถือครองทางการเกษตรของประเทศไทยในชวงป พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2542 ไมมี
               การเปลี่ยนแปลงมากนัก  ในป  พ.ศ. 2525  มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรประมาณ 123.59  ลานไร

               และในป พ.ศ. 2542 มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรประมาณ 131.34 ลานไร พื้นที่ถือครองทางการเกษตร
               มีแนวโนมลดลงโดยตลอด แตจํานวนครัวเรือนเกษตรมีแนวโนมเพิ่มขึ้น

                        การศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน ในระหวางป พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536 ยังพบวา ที่ดินเพื่อการเกษตร
               ในเขตปริมณฑลเปลี่ยนแปลงสภาพไปเฉลี่ย 18,000 ไรตอป ในเขตปริมณฑลที่มีการเปลี่ยนแปลง การใชที่ดิน

               เกษตรกรรมเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ มากพื้นที่หนึ่ง คือจังหวัดปทุมธานี จากการสํารวจในป พ.ศ. 2531 จังหวัดปทุมธานี
               มีโครงการบานจัดสรรจํานวน 46 โครงการ (โสภณ  ชมชาญ, 2538) ตอมา ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537

               จากการสํารวจในพื้นที่อําเภอคลองหลวง ธัญบุรี และหนองเสือ พบวา มีโครงการจัดสรรที่ดิน บานจัดสรร
               รีสอรท และสนามกอลฟรวม 146 โครงการ ในเดือนกุมภาพันธ พ.ศ. 2543 ไดมีการสํารวจโครงการบานจัดสรร

               เหลืออยูประมาณ 30 โครงการ แตพื้นที่ที่อยูในโครงการพัฒนาที่ดินตาง ๆ ที่หยุดหรือชะลอโครงการไว
               ซึ่งเดิมเปนที่เกษตรกรรมไดทิ้งรางมิไดใชประโยชนเปนจํานวนมาก ที่ตั้งของโครงการดังกลาวนี้เปนพื้นที่

               ที่เหมาะสมตอการเกษตรและอยูในเขตชลประทาน
                        อยางไรก็ตาม จากการวิเคราะห พบวา พื้นที่ที่ไมไดใชประโยชน ซึ่งมีจํานวน 32.1 ลานไร 36.45 ลานไร

               และ 29.89 ลานไร ในป พ.ศ. 2523, พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2541 ตามลําดับนั้น สวนหนึ่งเคยเปนที่ดิน
               ที่ใชเพื่อเกษตรกรรมมากอน ซึ่งเมื่อรวมกับพื้นที่การเกษตรในแตละชวง จะมีเนื้อที่เกษตรกรรมมากกวา

               168 ลาน ตามความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) มาตั้งแต พ.ศ. 2529









                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  19
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45