Page 95 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 95
68 รายงานการศึกษาวิจัย
การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
โครงการเพื่อคุมครองสิทธิของผูติดเชื้อเอชไอวี ในป พ.ศ. 2554 มีการดําเนินงานในระดับจังหวัด 7 แหง ไดแก
ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ พะเยา นาน นครสวรรค และลพบุรี แนวคิดหลักในการดําเนินงาน คือ การสราง
กลไกการมีสวนรวมในระดับจังหวัดเพื่อแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในการผูติดเชื้อ ซึ่งเริ่มตนจากการสรางเวที
การมีสวนรวมในระดับจังหวัด เพื่อหาทางสงเสริมคุมครองสิทธิดานเอดส โดยหนวยงานที่เขารวมประกอบดวย
หนวยงานภาครัฐที่เกี่ยวของ เชน อคช.จังหวัด สํานักงานสวัสดิการและคุมครองแรงงาน สํานักงานพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย (พม.จ.) และเครือขายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ซึ่งหนวยงานเหลานี้มักเปนหนวยงานที่อยู
ภายใตกลไกอนุกรรมการปองกันและแกไขปญหาเอดสระดับจังหวัด หลังจากนั้น FAR ก็ดําเนินการพัฒนาศักยภาพ
ในการดําเนินงานของกลไกสนับสนุนใหมีการทําแผนปฏิบัติการและดําเนินการตามแผน ซึ่งประกอบดวย การรับ
เรื่องราวรองทุกข การประชุมเปนระยะ ๆ และมีการสรุปบทเรียนเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผลการดําเนินงานพบวา จาก
ระยะเวลาในการดําเนินงาน 8 เดือน คณะทํางานไดรับเรื่องรองเรียนทั้งหมด 47 เรื่อง และสําหรับปญหาการเลือกปฏิบัติ
ในการประกอบอาชีพ สามารถแกไขไดโดยการประสานงานกับนายจาง/หนวยงานเพื่อไปสรางความรูความเขาใจ
ในเรื่องการแพรระบาดของผูติดเชื้อเอชไอวี สิทธิของผูติดเชื้อ โดยในหลายกรณีพบวา เปนการเลือกปฏิบัติ
ดวยเหตุแหงการไมรู ทั้งไมรูสิทธิของผูติดเชื้อ และไมรูเรื่องการแพรระบาด และกลาวอางถึงขอกฎหมาย เพื่อใชเปน
เงื่อนไขในการจํากัดสิทธิของผูติดเชื้อ เมื่อคณะทํางานลงไปทําความเขาใจและสามารถแสดงขอเท็จจริงใหเห็นวา
ไมมีขอกฎหมายที่จํากัดสิทธิดังกลาว ก็สามารถแกไขปญหาดังกลาวได แตผลสัมฤทธิในการแกไขปญหา มักจะจํากัด
อยูเปนรายกรณีเทานั้น
อยางไรก็ดี แมวาโครงการจะมีผลในการเสริมพลังขององคกรที่ทํางานสงเสริมและคุมครองสิทธิของ
ผูติดเชื้อที่เขาถึงกลุมเปาหมายในระดับพื้นที่ แตเมื่อการสนับสนุนงบประมาณสิ้นสุดโครงการก็จบลง เงื่อนไขนี้
เปนหนึ่งในขอจํากัดที่สําคัญของการดําเนินงานขององคกรในภาคประชาสังคม ซึ่งมีทรัพยากรในการดําเนินงาน
จํากัด งบประมาณในการดําเนินงานจํานวนมากก็มาจากหนวยงานระหวางประเทศ ซึ่งมีแนวโนมวา ในระยะตอไป
171
จะใหการสนับสนุนนอยลงเรื่อย ๆ รวมทั้งงบประมาณสนับสนุนในประเทศก็มีนอยลง และแมจะมีกองทุน
สนับสนุนการสรางเสริมระบบสุขภาพ (สสส.) ที่ใหความสําคัญกับการดําเนินงานเพื่อสรางสุขภาวะ แตแนวทาง
การสนับสนุนโครงการก็เปนการสนับสนุนระยะสั้น ไมตอเนื่อง นอกจากนั้น องคกรภาคประชาสังคมก็มีขีดจํากัด
ในการคุมครองสิทธิ เพราะขาดการยอมรับจากภาคราชการ และขาดอํานาจทางกฎหมาย หลายเรื่องจึงเปน
การดําเนินงานเพื่อสงตอใหหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบ อยางเชน สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
ดําเนินงานตอ หรือจําเปนตองฟองรองเพื่อใหเกิดการดําเนินคดีตอไป
171 คณะทํางานจับตานโยบายคณะกรรมการองคกรพัฒนาเอกชนดานเอดส (กพอ.), รายงานการวิเคราะหนโยบายการตอบสนองตอปญหาเอดสของประเทศไทย
ในมุมมองของภาคประชาสังคม ฉบับป พ.ศ. 2552, หนา 98.