Page 112 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 112

รายงานการศึกษาวิจัย  97
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





               ความปลอดภัยขององคกรหรือบุคคลอื่น (le contenu de la lettre menace la sécurité de l’établissement ou
               d’autrui) หรือที่มีลักษณะเปนความผิด (le caractère délictueux) เทานั้น ดังนั้น เจาหนาที่เรือนจําจะสามารถ
               เปดจดหมายที่ทนายความมีไปถึงผูตองขังไดก็เฉพาะแตเมื่อเจาหนาที่มีเหตุผลอันสมควรเชื่อวา (des motifs

               plausibles) จดหมายนั้นจะมีสิ่งผิดกฎหมายซึ่งมิอาจทําใหเปดเผยไดโดยวิธีการตรวจสอบปกติอยางอื่น

               แตอยางไรก็ตาม ในกรณีเชนนั้นเจาหนาที่เรือนจําจะตองเปดจดหมายนั้นตอหนาผูตองขังโดยตองไมอานจดหมายนั้น
                                  นอกจากนี้ ตามกฎหมายและแนวปฏิบัติของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเปนประเทศที่ให
               ความสําคัญกับสิทธิและเสรีภาพเปนอยางมาก ศาลสูงของสหรัฐอเมริกาไดขยายขอบเขตของสิทธิผูตองขังใหไดรับ

               การเยี่ยมและการติดตอกับโลกภายนอกมากขึ้น โดยศาลสูงไดมีคําพิพากษาหามการตรวจเนื้อหาของจดหมาย

               ที่สงออกจากเรือนจํา รวมทั้งหามการจํากัดสิทธิการติดตอกันทางจดหมายระหวางนักโทษกับบุคคลที่อยู
               นอกเรือนจํา การตรวจจดหมายที่สงเขามาในเรือนจําใหกระทําได แตหามอานขอความในจดหมาย รวมทั้ง
               อนุญาตใหทําการตรวจดวยอุปกรณและการสัมผัสดวยมือ นอกจากนั้น เรือนจําควรจัดใหมีตัวแทนของนักโทษ

               ที่ทําหนาที่สังเกตการณปฏิบัติในหองไปรษณียของเรือนจํา และการตรวจสิ่งพิมพอื่น ๆ ที่สงใหนักโทษในเรือนจํา

               ใหกระทําไดเทาที่จําเปนเพื่อคนหาสิ่งผิดกฎหมายหรือสิ่งพิมพที่ไมพึงประสงคซึ่งฝาฝนขอบังคับและระเบียบ
               ของเรือนจํา
                                  สําหรับการใชโทรศัพทของเรือนจํา นักโทษไดรับอนุญาตใหใชโทรศัพทสาธารณะที่ติดตั้ง

               ในเรือนจําไดสัปดาหละ 2- 3 นาที รวมทั้งการใหใชโทรศัพทฉุกเฉิน เชน การติดตอทนายความ เปนตน

                               4)   สรุป
                                  ในบริบทของกฎหมายไทย การที่เจาหนาที่เรือนจําตรวจดูหรือเปดอานจดหมายของ
               ผูตองขังเปนการแทรกแซงสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของผูตองขัง หากแตการดําเนินการดังกลาวเปนการปฏิบัติ

               ตามอํานาจหนาที่ตามกฎหมายเพื่อประโยชนสาธารณะ เปนสิ่งจําเปนเพื่อบรรลุวัตถุประสงคดังกลาว และ

               ไดสัดสวนกับวัตถุประสงคนั้น กรณีการกระทําเชนนั้นจึงไมเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผูตองขัง
                        4.2.10 กรณีการติดกลองโทรทัศนวงจรปด (CCTV) ในหองขังของผูตองขังหรือสถานที่สาธารณะ
               เพื่อประโยชนในการรักษาความปลอดภัย เชน โรงภาพยนตร

                               1)   ขอเท็จจริง

                                    การติดตั้งกลองโทรทัศนวงจรปด (CCTV) ในหองขังของผูตองขัง หรือในสถานที่
               สาธารณะ เชน โรงภาพยนตร เพื่อประโยชนในการรักษาความปลอดภัย
                              2)   ประเด็นปญหาทางกฎหมาย

                                  ประเด็นที่หนึ่ง การใชชีวิตในหองขังของผูตองขัง หรือการประพฤติปฏิบัติของบุคคล

               ในสถานที่สาธารณะ เชน โรงภาพยนตร มีลักษณะเปนสิทธิของบุคคลอันเกี่ยวดวยสิทธิในความเปนอยูสวนตัวหรือไม
                                  ประเด็นที่สอง การที่เจาหนาที่เรือนจําจะทําการติดตั้งกลองโทรทัศนวงจรปดในหองขัง
               ของผูตองขังก็ดี หรือการติดกลองโทรทัศนวงจรปดในโรงภาพยนตร เปนการแทรกแซงสิทธิในความเปนอยูสวนตัว

               ของผูตองขังหรือของผูมาใชบริการของโรงภาพยนตร อันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผูตองขังหรือบุคคลนั้น

               หรือไม
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117