Page 109 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 109

94     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                                 ประเด็นที่สอง การที่เจาหนาที่เรือนจําตรวจดูหรือเปดอานจดหมายของผูตองขังเปนการ
              แทรกแซงสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของผูตองขัง อันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผูตองขังหรือไม
                                 เมื่อจดหมายหรือการติดตอสื่อสารเปนขอมูลที่เกี่ยวดวยสิทธิในความเปนอยูสวนตัว

              เกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลของผูตองขังซึ่งจะตองไดรับการคุมครองตามกฎหมาย จึงกอใหเกิดหนาที่หรือความผูกพัน

              ตอบุคคลอื่นที่จะตองเคารพตอสิทธิดังกลาว โดยไมกระทําการเปดเผยขอมูลดังกลาวโดยมิไดรับความยินยอมของ
              ผูปวยนั้นโดยชัดแจงแตอยางใด โดยนัยดังกลาว การตรวจดูหรือเปดอานจดหมายของเจาหนาที่เรือนจําตามกรณี
              ศึกษาจึงเปนการแทรกแซงสิทธิในความเปนอยูสวนตัว อันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผูตองขัง

                                 ประเด็นที่สาม การดําเนินการดังกลาวเปนการดําเนินการตามอํานาจหนาที่ตามกฎหมาย

              โดยองคกรของรัฐเพื่อประโยชนสาธารณะ เปนสิ่งจําเปนเพื่อบรรลุวัตถุประสงคดังกลาว และไดสัดสวนกับ
              วัตถุประสงคนั้น อันเขาขอยกเวนของการแทรกแซงสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของผูตองขังโดยชอบดวยกฎหมาย
              หรือไม

                                 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา  36 ซึ่งบัญญัติวา

                                 “บุคคลยอมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบดวยกฎหมาย
                                 การตรวจ การกัก หรือการเปดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดตอถึงกัน รวมทั้งการกระทํา
              ดวยประการอื่นใดเพื่อใหลวงรูถึงขอความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดตอถึงกัน จะกระทํามิได เวนแต

              โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบ

              เรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”
                                 นอกจากนี้ ระเบียบกรมราชทัณฑ วาดวยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนเกี่ยวกับ
              การขอลากิจ การขอยายกลับภูมิลําเนาใหผูตองขัง และการบริการรับสงจดหมายของผูตองขัง พ.ศ. 2546 ยังได

              กําหนดในขอ 7 การพิจารณาเรื่องการบริการรับสงจดหมายของผูตองขัง มีขั้นตอนและระยะเวลาในการดําเนินการ

              ดังนี้
                                 ขั้นตอนที่ 1 เรือนจํา/ทัณฑสถาน ไดรับจดหมายที่สงถึงผูตองขัง หรือที่ผูตองขังสงถึง
              บุคคลอื่น หรือหนวยงานภายนอก

                                 ขั้นตอนที่ 2

                                 1.  ตรวจสอบพิจารณา 1 วันทําการ
                                 2.  นําสงเพื่อไปยังบุคคลอื่น หรือหนวยงานภายนอกหรือนําจายใหกับผูตองขัง 1 วัน
              ทําการ กรณีจดหมายภาษาตางประเทศ ใหขยายระยะเวลาดําเนินการออกไปอีก 3 วันทําการ

                                 ดังนั้น แมวาผูตองขังจะเปนผูที่กระทําการผิดกฎหมายจนเปนเหตุใหถูกคุมขัง แตการถูก

              คุมขังหรือการจํากัดอิสรภาพดังกลาวนั้น มิไดทําใหศักดิ์ศรีความเปนมนุษยของผูตองขังนั้นลดลงแตอยางใด ผูตองขัง
              ก็ยังมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะติดตอสื่อสารกับบุคคลอื่นได เพียงแตตองอยูภายใตกรอบที่กฎหมายกําหนด ไดแก
              ระเบียบกรมราชทัณฑ วาดวยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนเกี่ยวกับการขอลากิจ การขอยายกลับภูมิลําเนา

              ใหผูตองขัง และการบริการรับสงจดหมายของผูตองขัง พ.ศ. 2546 เนื่องจากผูตองขังเปนผูที่จะตองมีการควบคุม

              ความประพฤติและจําเปนจะตองมีการบําบัดฟนฟูพฤติกรรมเพื่อใหสามารถออกไปใชชีวิตไดอยางปกติสุขในสังคม
              ตอไป โดยการตรวจสอบจดหมายของผูตองขังนั้นเปนการกระทําเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษา
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114