Page 111 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 111

96     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                                อยางไรก็ตาม ประเด็นปญหาตามกรณีศึกษานี้มีมาตรฐานขั้นตํ่าของสหประชาชาติ
              เกี่ยวกับการปฏิบัติตอผูตองขังไดกําหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวของกับประเด็นปญหาโดยตรงไวในขอ 37 ซึ่งกําหนดวา
              “พึงอนุญาตใหผูตองขังติดตอกับครอบครัว และเพื่อนที่เชื่อถือไดของเขาตามกําหนดอยางสมํ่าเสมอ

              ทั้งทางจดหมายและโดยการเยี่ยมเยียนในความควบคุมของเจาหนาที่” นอกจากนี้ หากพิจารณาตามกรอบขอตกลง

              ระหวางประเทศหรือกฎหมายตางประเทศบางประเทศ อาจพบวามีการกําหนดแนวทางปฏิบัติที่แตกตางกับ
              แนวทางปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายไทย ดังนี้
                                หากพิจารณาตามกรอบของปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาแหงยุโรป

              วาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแลว จะเห็นวาจดหมาย (หรือการติดตอสื่อสารอยางอื่น)

              ยอมเกี่ยวดวยสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของบุคคลที่เกี่ยวของ และไดรับความคุมครองมิใหบุคคลใดเปดเผยขอมูล
              ในจดหมายนั้นโดยมิไดรับความยินยอมจากบุคคลที่เกี่ยวของ การแทรกแซงสิทธิดังกลาวโดยองคกรของรัฐ
              จะกระทําไดจะตองอยูภายใตเงื่อนไขที่กําหนดไวในขอ 8 วรรคสอง ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ กลาวคือ

              การแทรกแซงสิทธิในความเปนอยูสวนตัวเกี่ยวกับจดหมาย (หรือการติดตอสื่อสารอยางอื่น) จะกระทําไดตอเมื่อ

              เปนการปฏิบัติอํานาจหนาที่ตามกฎหมายเพื่อประโยชนสาธารณะ เชน ความมั่นคงแหงรัฐ ความสงบเรียบรอยหรือ
              ความปลอดภัยของประชาชน การกระทําเชนนั้นเปนสิ่งจําเปนเพื่อบรรลุวัตถุประสงคดังกลาว และการกระทํา
              เชนนั้นไดสัดสวนกับวัตถุประสงคที่มุงหมายนั้น โดยนัยดังกลาว หลักสําคัญจึงไดแก การหาม มิใหเปดเผยหรือ

              ตรวจดูขอมูลในจดหมาย (หรือการติดตอสื่อสารอยางอื่น) ของผูตองขัง การจะตรวจดูจดหมายของผูตองขังได

              จะตองเปนกรณีที่เจาหนาที่ของรัฐมีเหตุอันสมควรที่จะเชื่อไดวาผูตองขังจะกระทําการอยางหนึ่งอยางใด
              อันอาจกระทบตอความมั่นคงแหงรัฐ ความปลอดภัยหรือความสงบเรียบรอยของประชาชนเทานั้น ซึ่งตองปรากฏ
              ขอเท็จจริงประการหนึ่งประการใด เพื่อประกอบการตัดสินใจดําเนินมาตรการอันเปนการแทรกแซงสิทธิในความ

              เปนอยูสวนตัวของผูตองขัง และหากจําเปนจะตองตรวจดูหรือเปดอานจดหมายนั้น เจาหนาที่ของรัฐจะตองกระทํา

              ตอหนาผูตองขัง ดังที่ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนไดเคยวินิจฉัยไวในคดี Campbell c/Royaume-Uni เมื่อ
                                  96
              วันที่ 25 มีนาคม 1992  ผูรองซึ่งถูกลงโทษจําคุกตลอดชีวิต (condamné à la prison à vie) ฐานฆาคนตาย
              โดยเจตนา (l’assassinat) ไดรองเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหนาที่ที่ไมดี (de mauvais traitements) ของผูดูแล

              เรือนจํา (de gardiens de prison) ศาลไดตัดสินวาการเปดอานจดหมายระหวางทนายความและผูตองขัง

              โดยเจาหนาที่เรือนจํา (les autorités pénitentiaires) เปนการกระทําอันเปนการแทรกแซงสิทธิของบุคคลที่จะ
              ไดรับการเคารพในการติดตอทางจดหมาย แมการดําเนินการดังกลาวจะมีกฎหมายบัญญัติใหกระทําไดและ
              มีวัตถุประสงคที่ชอบดวยกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบรอยและการปองกันการกระทําความผิดทางอาญา

              แตอยางไรก็ตาม ศาลเห็นวาการดําเนินการเชนนั้น “มิใช” สิ่งจําเปนในสังคมประชาธิปไตยตอวัตถุประสงค

              ที่มุงหมายนั้น เนื่องจากจดหมายของผูตองขังมีสถานะที่จะตองไดรับสิทธิพิเศษ (un statut privilégié) ศาลให
              เหตุผลวา จดหมายของผูตองขังที่มีไปถึงทนายความของตนจะถูกเปดอานโดยเจาหนาที่ของเรือนจําไดก็เฉพาะ
              แตในกรณีที่เปนขอยกเวนซึ่งมีเหตุอันสมควรที่จะเชื่อวาจดหมายนั้น มีเนื้อหาหรือขอความที่เปนการคุกคาม




              96  Arrêt Campbell, 25 mars 1992, Volume n° 233 de la série A, § 8 et 9 V. F. SUDRE, J. C. P. 1993, I, 3654,
               n° 23.,อางแลว
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116