Page 58 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 58

56  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                  ๓)  ควบคุมดูแลการชุมนุมในเขตอำานาจของตนให้เป็นไปโดยเรียบร้อย

                                  ๔)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะและเดินขบวน

                                  คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า
                  ๕ คน แต่ไม่เกิน ๖ คน ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสำานักงานตำารวจแต่ละพื้นที่  โดยคำานึงถึงความเชี่ยวชาญ
                  และความเป็นกลาง จาก  ๑) นักกฎหมาย  ๒) อาจารย์ในสถานศึกษา  ๓) ตัวแทนจากภาคประชาชน

                  และ ๔) ตัวแทนจากประชาชนที่อาศัยในพื้นที่หรือภูมิภาคนั้น

                                  หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้เป็นไปตามที่ประธานาธิบดีกำาหนดในกฤษฎีกา

                                  ช่วงเวล�ต้องห้�มจัดก�รชุมนุมหรือเดินขบวน
                                  รัฐบัญญัติฯ ได้บัญญัติห้ามการชุมนุมสาธารณะหรือเดินขบวนในสถานที่เปิดก่อน

                  พระอาทิตย์ขึ้น และหลังพระอาทิตย์ตก เว้นแต่กรณีจัดการชุมนุมต่อเนื่องมาก่อนเวลาดังกล่าวและ
                  ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ตำารวจผู้มีเขตอำานาจอนุญาตภายใต้เงื่อนไขพิเศษที่

                  กำาหนด
                                  ศาลรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐเกาหลีได้วินิจฉัยในคดี Candlelight vigils กรณี

                  ชาวเกาหลีใต้นับล้านได้ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลของประธานาธิบดี ลี มุง บัค ในปี ค.ศ. ๒๐๐๘
                  สาเหตุที่รัฐบาลได้ทำาความตกลงทางการค้ากับประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอนุญาตให้สหรัฐอเมริกา

                  นำาเข้าเนื้อวัวชำาแหละโดยไม่สามารถวางมาตรการด้านสุขอนามัยเพื่อตรวจสอบเนื้อวัวมิให้มีเชื้อโรค
                  วัวบ้า (Mad Cow Disease) เข้ามาจำาหน่ายในประเทศได้  โดยผู้ชุมนุมได้ร่วมกันเดินขบวนจุดเทียน

                  ประท้วงในเวลากลางคืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตำารวจ จนในที่สุด ได้มีการสลายการชุมนุม
                  อย่างรุนแรง คาดว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ ๑,๕๐๐ คน  ในคดีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย

                  เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๙ ว่าบทบัญญัติที่ห้ามมิให้บุคคลจัดการชุมนุมหรือเดินขบวนก่อน
                  พระอาทิตย์ขึ้นหรือหลังพระอาทิตย์ตกขัดต่อรัฐธรรมนูญ พร้อมแจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติทราบ

                  เพื่อดำาเนินการแก้ไขปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้เป็นไปตามคำาพิพากษา ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน
                  ค.ศ. ๒๐๑๐  หากพ้นเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่มีการแก้ไขกฎหมาย  บทบัญญัติมาตรานี้ใช้บังคับกับ

                  ประชาชนไม่ได้

                                  บทกำ�หนดโทษ
                                  บุคคลใดที่กระทำาการฝ่าฝืนบทบัญญัติที่ห้ามจัดการชุมนุมในที่สาธารณะและ

                  เดินขบวนในเวลากลางคืน หรือที่ห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะ และเดินขบวนในบริเวณสถานที่

                  หวงห้าม หรือกระทำาการฝ่าฝืนคำาสั่งห้ามจัดการชุมนุมในที่สาธารณะและเดินขบวน ต้องรับโทษ
                  หนักเบาตามฐานะหน้าที่ของผู้กระทำาความผิด
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63