Page 77 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 77

๖๓







                  แม่บทการพัฒนาท่าเรือฝั่งอันดามัน และให้รายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของทางเลือกและความ
                  คุ้มค่าทางเศรษฐกิจของการพัฒนาในกรณีต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน และนําเสนอ

                  คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจต่อไป ปัจจุบันยังไม่ได้มีการศึกษา เนื่องจากยังไม่สามารถจัดหาแหล่ง

                  เงินทุนสนับสนุน

                             - มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ มอบหมายให้

                  กระทรวงคมนาคมไปพิจารณาทบทวนและปรับรูปแบบโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกปากบารา จังหวัด
                  สตูล ให้เป็นท่าเรืออเนกประสงค์รองรับการขนส่งสินค้าและสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ และ

                  วางแผนการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ําลึกทวาย ท่าเรือแหลมฉบังและประเทศ

                  อื่นๆ ในภูมิภาค

                             - กระทรวงคมนาคมได้ทําหนังสื่อเพื่อขอยืนยันรูปแบบการก่อสร้างท่าเรือ

                  ปากบาราเป็นท่าเรือน้ําลึกไปยังสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
                  เพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากมีประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔

                  ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีผลสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ดังนั้นสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึง

                  ได้ส่งเรื่องคืนให้กระทรวงคมนาคมเพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีรัฐบาลใหม่

                                ๖)  โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการ

                  ขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ศึกษาแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

                  (รูปภาพที่ ๑๒) ปัจจุบันสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจรอยู่ระหว่างการนําเสนอ
                  คณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการการศึกษาดังกล่าว


                            (๑) ผลการศึกษาเพื่อพิจารณาแนวเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างท่าเรือ
                  ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันพบว่า แนวสําหรับเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงที่มีความเหมาะสมมากที่สุดรวม

                  ระยะทาง ๑๔๒ กิโลเมตร คือ ท่าเรือน้ําลึกปากบารา–ควนกาหลง-รัตภูมิ–นาหม่อม-จะนะ-ท่าเรือสงขลา ๒

                  และจากการออกแบบเบื้องต้นพบว่า ต้องปรับแนวเส้นทางบางส่วนบริเวณเขาพระ–ท่านุ้ย เพื่อลด
                  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้เขตทางห่างจากพื้นที่ลุ่มน้ําชั้น ๑ มากขึ้น และปรับแนวเส้นทาง

                  เพื่อหลีกเลี่ยงอาคารขนาดใหญ่และสถานที่สําคัญของทางราชการและรัฐวิสาหกิจในอําเภอหาดใหญ่

                            (๒) ระยะการพัฒนาแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ รถไฟทางเดี่ยว

                  เส้นทางปากบารา–หาดใหญ่ ระยะทาง ๑๐๗.๕ กิโลเมตร ระยะที่ ๒ เส้นทางหาดใหญ่-สงขลา ๒ เป็น

                  รถไฟทางเดี่ยว ระยะทาง ๓๔.๕ กิโลเมตร และระยะที่ ๓ เป็นรถไฟทางคู่ เส้นทางปากบารา–สงขลา ๒
                  ระยะทาง ๑๔๒ กิโลเมตร โดยได้เสนอรูปแบบการลงทุนเป็น ๓ ทางเลือก ได้แก่ ๑) รัฐเป็นผู้ลงทุน

                  ทั้งหมด ๒) รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบรถไฟ ส่วนการจัดหาขบวนรถ การเดินรถและการซ่อม
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82