Page 76 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 76

๖๒







                  เป็นหมู่เกาะตะรุเตา และมีเกาะเขาใหญ่อยู่ทางด้านตะวันตก มีระดับน้ําลึก ๑๕ กิโลเมตร อยู่ห่างจากฝั่ง
                  ๕ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีชุมชนอยู่กระจัดกระจายรอบที่ตั้งของท่าเรือ


                             - แผนงานพัฒนาท่าเรือปากบารา แบ่งเป็น ๓ ระยะ รวม ๑๒ ปี ระยะที่ ๑
                  ระยะดําเนินงาน ๕ ปี รองรับสินค้า ๘๒๕,๐๐๐ TEU ถมทะเลพื้นที่ ๒๙๒ ไร่ เพื่อพัฒนาท่าเรือความยาว

                  หน้าท่า ๗๕๐ เมตร ท่าเรือบริการ ๒๒๐ เมตร ลานกองสินค้า อาคารสํานักงานและสินค้าขาเข้าและ

                  ออก พร้อมทั้งระบบสาธารณูปการ ขุดลอกร่องน้ํา ๑๔ เมตร แอ่งกลับลําเรือ สร้างเขื่อนกันคลื่นยาว
                  ๑,๗๐๐ เมตร และสะพานข้ามท่าเรือขนาด ๔ เลน ยาว ๔๐๕ กิโลเมตร ระยะที่ ๒ ระยะดําเนินงาน ๓ ปี

                  รองรับสินค้า ๑,๓๗๕,๐๐ TEU ถมทะเลพื้นที่ ๒๔๐ ไร่ พร้อมขุดลอกร่องน้ํา เพื่อเพิ่มความยาวท่าเรืออีก

                  ๕๐๐ เมตร รวมความยาวท่าเรือ ๑,๒๕๐ เมตร และระยะที่ ๓ ระยะดําเนินงาน ๔ ปี รองรับสินค้า
                  ๒,๔๗๕,๐๐๐ TEU  ถมทะเลพื้นที่ ๔๕๐ ไร่ เพื่อเพิ่มความยาวท่าเรืออีก ๑,๐๐๐ เมตร รวมความยาว

                  ท่าเรือ ๒,๒๕๐ เมตร และขยายร่องน้ําและแอ่งกลับลําเรือจากเดิม ๑๘๒ เมตร เป็น ๓๐๐ เมตร

                             - ประมาณการณ์การลงทุนพัฒนาท่าเรือน้ําลึกปากบารา งบประมาณ

                  ๓๗,๔๘๐ ล้านบาท (รวมเชื่อมโยงทางรถไฟควนเนียง–ปากบารา ระยะทาง ๙๕ กิโลเมตร ประมาณ

                  ๑๐,๑๓๐ ล้านบาท) โดยเงินลงทุนเฉพาะค่าก่อสร้างท่าเรือ อาคาร และสาธารณูปโภคประมาณ
                  ๑๙,๕๖๘ ล้านบาท ซึ่งจะเสนอขอเงินลงทุนในระยะที่ ๑ ประมาณ ๙,๗๓๖ ล้านบาท


                            (๒) รัฐมีนโยบายเกี่ยวกับการดําเนินโครงการการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกปากบารา

                  จังหวัดสตูล มาโดยลําดับ ดังนี้

                             - มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รับทราบมติ

                  คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๒ เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
                  สิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ําลึกและถมทะเล ระยะที่ ๑ อําเภอปากบารา จังหวัดสตูล

                  โดยกรมเจ้าท่าเสนอการศึกษาประกอบการพิจารณาขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า

                  และพันธุ์พืช และมอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทํา
                  ข้อมูลเพื่อการกําหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ และระบบโครงข่ายการขนส่งและคมนาคมในพื้นที่ภาคใต้

                  เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาโครงการพัฒนาท่าเรือน้ําลึกปากบาราต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา

                  การขออนุญาตเพื่อเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกะเภตรา จํานวน ๔,๗๓๔ ไร่ ต้องประสบปัญหา
                  การไม่ยอมรับของชุมชนและประชาชนในพื้นที่


                             - มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับทราบมติ
                  คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (รศก.) ครั้งที่ ๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ได้

                  มอบหมายให้สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) ดําเนินการศึกษาจัดทําแผน
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81