Page 75 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 75

๖๑







                  พื้นที่ฝั่งอันดามัน (๓) พัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) เพื่อกระตุ้นให้เกิด
                  การพัฒนาเชิงบูรณาการ


                                ๔)  โครงการศึกษาพัฒนาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม
                  เพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง กรมเจ้าท่าศึกษาเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๒

                  ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทํารายงานเพิ่มเติมด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA)

                  เพื่อส่งให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา

                            (๑) กรมเจ้าท่าได้ศึกษาคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือทางกายภาพในเบื้องต้นรวม ๘ แห่ง

                  ได้แก่ ตําบลท้องเนียน อําเภอขนอม และตําบลสิชล อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ตําบลสนามชัย
                  และตําบลวัดจันทร์ อําเภอสทิงพระ ตําบลนาทับ อําเภอจะนะ ตําบลสะกอม อําเภอเทพา จังหวัดสงขลา

                  พื้นที่ชายฝั่งทะเลอําเภอเมือง จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส จากการพิจารณาความเหมาะสมของปัจจัย

                  ด้านเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และทัศนคติของชุมชน รวมทั้งความสอดคล้องกับผังเมืองรวม
                  พบว่าพื้นที่ตําบลนาทับ อําเภอจะนะ เหมาะสมที่สุดในการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

                  ตอนล่าง รองลงมา ได้แก่ พื้นที่ตําบลวัดจันทร์ อําเภอสทิงพระ และพื้นที่ตําบลสะกอม อําเภอเทพา


                            (๒) พื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ําลึกบริเวณ ตําบลนาทับ
                  อําเภอจะนะ มีร่องน้ําลึก ๙-๑๒ เมตร สามารถสร้างท่าเรือเพื่อรองรับฐานสินค้าที่เกินขีดความสามารถ

                  ของการใช้บริการท่าเรือสงขลา แห่งที่ ๑ โดยรับเรือขนาด ๙,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ DWT เข้าจอดเทียบท่าได้

                  พร้อมกัน ๓ ลํา สําหรับสินค้าที่ผ่านท่ามี ๓ ประเภท ได้แก่ สินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าทั่วไป
                  บรรจุหีบห่อ และสินค้าบรรจุตู้แช่แข็ง


                                ๕)  โครงการศึกษาสํารวจออกแบบเพื่อการก่อสร้างท่าเทียบเรือปากบารา จังหวัด
                  สตูล ศึกษาเสร็จแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒ และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

                  โครงการท่าเทียบเรือน้ําลึกและถมทะเลระยะที่ ๑ บริเวณบ้านปากบารา อําเภอละงู จังหวัดสตูล

                  ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดทํารายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมและเดินหน้า
                  ผลักดันโครงการ การดําเนินการในระยะที่ผ่านมามีดังนี้


                            (๑) กรมเจ้าท่าได้ศึกษาสํารวจออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ
                  ท่าเรือน้ําลึกและถมทะเลระยะที่ ๑ บริเวณบ้านปากบารา อําเภอละงู จังหวัดสตูล สรุปสาระสําคัญได้

                  ดังนี้


                             - พื้นที่ตั้งโครงการท่าเรือน้ําลึกปากบาราอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล
                  หมู่เกาะเภตรา บริเวณบ้านปากน้ํา ตําบลปากน้ํา อําเภอละงู จังหวัดสตูล อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ

                  ๕๐ กิโลเมตร และห่างจากชายแดนมาเลเซียประมาณ ๔๐ กิโลเมตร บริเวณด้านใต้ของพื้นที่ตั้งท่าเรือ
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80