Page 73 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 73

๕๙







                  ฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย โครงการศึกษาความเหมาะสมทาง
                  เศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง โครงการ

                  ศึกษาการสํารวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือปากบารา จังหวัดสตูล โครงการศึกษาความเหมาะสม

                  และออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
                  และโครงการศึกษาบางส่วนเป็นเพียงแนวคิดที่ต้องมีการศึกษาในรายละเอียด ได้แก่ โครงการขุดเจาะ

                  อุโมงค์เชื่อมโยงต่อจังหวัดสตูล–รัฐปะลิส รวมทั้งบางโครงการยุติการดําเนินงานแล้ว ได้แก่ โครงการ

                  Marine Terminal Pipeline Project สามารถสรุปสาระสําคัญโครงการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้



                         ๔.๔.๑  โครงการที่ได้ดําเนินการศึกษาแล้วเสร็จ


                                ๑)  การศึกษาโครงการวางแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน โดย

                  สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการดําเนินการร่วมกับ ADB จัดทํา
                  แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมคิดของภาค

                  ประชาชนและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสรุปแนวคิดการพัฒนาได้ดังนี้

                            (๑) กําหนดกลุ่มพื้นที่การพัฒนาตามศักยภาพและสอดคล้องกับภูมิสังคมของพื้นที่

                  ทั้งด้านภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยกําหนดบทบาทและแผนโครงสร้างพื้นที่ภาคใต้

                  ไว้ ๓ อนุภาค ประกอบด้วย (๑) พื้นที่อนุภาคใต้ฝั่งตะวันออก เน้นการพัฒนาแบบผสมผสานของการ
                  พัฒนาอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการท่องเที่ยว (๒) พื้นที่อนุภาคใต้ตอนล่าง เน้นการพัฒนาแนว

                  สะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก–ตะวันตก และเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาพื้นที่

                  เศรษฐกิจตอนเหนือของมาเลเซีย (NCER) และแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECER)
                  มาเลเซีย (๓) พื้นที่อนุภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวพักผ่อนระดับโลก


                            (๒) กําหนดพื้นที่พัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Development Area,
                  CDA) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะมีการวางแผนการพัฒนาหลักและส่งแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาในอนุภาค โดย

                  เน้นการเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและได้กําหนดพื้นที่พัฒนาแบบเบ็ดเสร็จไว้ทั้งหมด ๓ พื้นที่ ได้แก่

                  (๑) พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ฝั่งตะวันออก ในแนวพื้นที่สุราษฎร์ธานี–นครศรีธรรมราช (๒) พื้นที่แนวสะพาน
                  เศรษฐกิจ สตูล–สงขลา และ (๓) พื้นที่ท่องเที่ยว กลุ่มภูเก็ต กระบี่ พังงา


                                ๒)  โครงการศึกษาความเหมาะสมของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการ

                  พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ศึกษาแล้วเสร็จเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยการนิคมอุตสาหกรรม
                  แห่งประเทศไทยได้ศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลังงาน และท่าเรือ

                  อุตสาหกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทั้งนี้ผลการศึกษาได้เสนอทางเลือกไว้ ๒
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78