Page 80 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 80

๖๖







                  ท่อขนส่งน้ํามันดิบจาก Jerlun-Kota Perdana ไปยังท่อส่งออกที่สงขลา ระยะทาง ๑๕๐ กิโลเมตร และ
                  ท่อส่งน้ํามันสําเร็จรูปจากโรงกลั่น Kedah-ท่อส่งออกที่สงขลา รวมระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร พร้อมทั้ง

                  คลังสํารองน้ํามันดิบและน้ํามันสําเร็จรูปและท่อส่งออกตั้งอยู่ที่ จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ในการวางท่อน้ํามัน

                  จะวางตามแนวท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย สาเหตุที่บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือไปยัง
                  SKSC  เพื่อขอชะลอการลงทุนในโครงการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าความเป็นไปได้ในการลงทุนของ

                  โครงการยังไม่คุ้มค่าเนื่องจากโรงกลั่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก ผลตอบแทนโครงการก็อยู่ในระดับต่ํา

                  ประมาณร้อยละ ๙ อาจมีประเด็นการไม่ยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ และมีประเด็นที่เกี่ยวด้าน
                  กฎหมาย โดยการใช้พื้นที่แนวท่อนี้ต้องมีการขออนุญาตใช้ Right of Way ที่อาจจะเข้าข่ายมาตรา ๑๙๐

                  ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ต้องนําเรื่องเสนอต่อรัฐสภาและจัดให้มีการรับฟังคามคิดเห็นของ

                  ประชาชน อย่างไรก็ตามทางบริษัท SKSC ยังคงมีความพยายามในการผลักดันโครงการดังกล่าว

                                สรุปผลการศึกษาการทบทวนโครงการที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

                  ส่วนใหญ่เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยยังไม่ได้ดําเนินการผลักดันให้
                  เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับในหลายมิติและส่งผลกระทบในวงกว้าง รวมทั้งเงื่อนไข

                  การพัฒนาหลายประการโดยเฉพาะผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งการ

                  ดําเนินโครงการจะต้องบริหารจัดการเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบดังกล่าว ดังนั้นการดําเนินการจึงใช้
                  เวลาส่วนใหญ่กับการศึกษาและประชาสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่อง




                  ๔.๕  กรณีร้องเรียนเรื่องแผนพัฒนาภาคใต้ที่มีต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


                         กรณีร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับแผนและโครงการพัฒนาภาคใต้ ในพื้นที่ศึกษา ๔ จังหวัด ได้แก่
                  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล ที่มีต่อคณะอนุกรรมการ

                  สิทธิชุมชน จํานวนทั้งสิ้น ๒๔ คําร้อง โดยมีรายละเอียดของกรณีร้องเรียนในแต่ละจังหวัด ดังนี้




                         ๔.๕.๑  กรณีร้องเรียนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                                กรณีร้องเรียนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาภาคใต้ มีจํานวน

                  ๕ คําร้อง ดังแสดงรายละเอียดไว้ในตารางที่ ๓ ซึ่งการร้องเรียนของชาวบ้านมีตั้งแต่ระดับแผนงานต่าง ๆ

                  ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาคที่เป็นกลไกสําคัญในการกําหนดทิศทางการพัฒนาของจังหวัด
                  ประจวบคีรีขันธ์ โดยที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการกําหนด ได้แก่ กรณีร้องเรียนเรื่องคัดค้านแผนพัฒนา

                  เวสเทิร์นซีบอร์ดและแผนพัฒนาเซาเทิร์นซีบอร์ดตอนบน และแผนยุทธศาสตร์จังหวัดส่งเสริม

                  อุตสาหกรรมเหล็กในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (คําร้องที่ ๓๗๔/๒๕๕๑) และแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้า
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85