Page 72 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 72
๕๘
ระยะเวลาก่อสร้าง ๕ ปี งบประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท พื้นที่เก็บกักน้ําสูงสุด ๖๔๕ ไร่ และสันเขื่อนยาว
๓๕๐ เมตร สูง ๔๐ เมตร
๔) จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการพัฒนาลุ่มน้ําตาปี–พุมดวง มีพื้นที่โครงการ
๗๓,๙๘๐ ไร่ เป็นโครงการผันน้ําจากแม่น้ําตาปีขึ้นมาใช้
๕) จังหวัดสงขลา มีแผนงานจัดหาน้ําเพื่อนํามาใช้ในการอุปโภคบริโภค ภายใต้แผน
แม่บทเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับแผนงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย
อินโดนีเซีย–มาเลเซีย–ไทย รวม ๓ โครงการ ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ําคลองลําแซง อําเภอรัตภูมิ
โครงการอ่างเก็บน้ําคลองขัน อําเภอรัตภูมิ และโครงการอ่างเก็บน้ําบ้านนาปรัง อําเภอนาทวี นอกจากนี้
โครงการวางผังพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดสงขลา–สตูล ก็ยังมีการระบุถึงโครงการอ่างเก็บน้ําในจังหวัด
สงขลา ๔ โครงการ ได้แก่ โครงการ ๓ โครงการดังกล่าวข้างต้น และโครงการอ่างเก็บน้ําตําบลสํานักขาม
อําเภอสะเดา
๖) จังหวัดสตูล โครงการวางผังพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดสงขลา–สตูล ระบุถึงการจัดหา
แหล่งน้ําเพื่อการชลประทาน และเพิ่มศักยภาพแหล่งกับเก็บน้ําในพื้นที่จังหวัดสตูล ๔ แห่ง คือ โครงการ
อ่างเก็บน้ําลําโลน คลองย่าบน เขาใคร และคลองช้าง
๗) จังหวะยะลา-นราธิวาส-ปัตตานี ลงไปในชายแดนภาคใต้ มีโครงการก่อสร้างเขื่อน
สายบุรี กั้นแม่น้ําสายบุรี ที่บ้านกะดูดง ตําบลอาซ่อง อําเภอรามัน จังหวัดยะลา มีชื่อเต็มว่า โครงการ
พัฒนาลุ่มน้ําสายบุรีตอนล่างและพรุบาเจาะ–ไม้แก่น มีพื้นที่รองรับน้ําประมาณ ๒,๒๓๗ ตารางกิโลเมตร
ครอบคลุมอําเภอสุคิริน อําเภอจะแนะ อําเภอศรีสาคร อําเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส อําเภอรามัน
จังหวัดยะลา อําเภอทุ่งยางแดง อําเภอกะพ้อ อําเภอไม้แก่น และอําเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็น
เขื่อนที่ต้องการผันน้ํามาใช้ในนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ในอําเภอสายบุรีและอําเภอปะนาเระ
จังหวัดปัตตานี รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําในจังหวัดปัตตานี ที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต
๔.๔ สถานการณ์ปัจจุบันของโครงการที่ส่งผลการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
จากการทบทวนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของสํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีหลายโครงการ
ได้ดําเนินการศึกษาแล้วเสร็จและยังไม่ได้นําผลไปปฏิบัติ เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องนโยบายและ
แนวทางการขับเคลื่อนโยบาย และการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ การศึกษาการวางแผน
พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน โครงการศึกษาความเหมาะสมของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือ