Page 74 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 74
๖๐
บริเวณ ได้แก่ ตําบลทุ่งปรัง อําเภอสิชล และตําบลกลาย อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย
ระบุความต้องการพื้นที่ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ไร่ สําหรับโรงกลั่นน้ํามัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์และยิบซั่ม น้ํามันปาล์ม ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าแปรรูปเกษตรอื่น ๆ
และโรงไฟฟ้า รวมทั้งเสนอให้มีการวางท่อส่งน้ําดิบ ระยะทางประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร เพื่อการส่งน้ําดิบ
๓๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี (๗๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) จากคลองพุมดวงช่วงด้านท้ายน้ําของ
เขื่อนรัชประภามายังนิคมอุตสาหกรรม
๓) โครงการศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและ
สะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย ซึ่งการศึกษาแนวคิดการพัฒนาแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม
๒๕๕๒ โดยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมรับความ
ช่วยเหลือจากบริษัท Dubai World ในการศึกษา “Feasibility Study on the Development of
Land Bridge between Southern Coastlines of Thailand” โดยผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
(๑) แนวเส้นทางการพัฒนาเชื่อมทั้งสองฝั่งทะเล (Land bridge) ที่มีศักยภาพใน
การขนส่งน้ํามันและสินค้า คือ แนวเชื่อมโยงระหว่าง อําเภอละงู จังหวัดสตูล–อําเภอจะนะ จังหวัด
สงขลา ระยะทาง ๑๔๖ กิโลเมตร
(๒) ระบบการขนส่งน้ํามัน ประกอบด้วย (๑) ทุ่นจอดเรือน้ํามัน (Single Point
Mooring, SPM) นอกชายฝั่งทะเลจังหวัดสตูล ๑ แห่ง เพื่อรองรับเรือ ULCC (Ultra Large Crude
Carrier) ขนาดระวางบรรทุก ๓๐๐,๐๐๐–๔๕๐,๐๐๐ DWT และที่จังหวัดสงขลา ๑ แห่ง รองรับ VLCC
(Very Large Crude Carrier) ขนาดระวางบรรทุก ๒๐๐,๐๐๐–๓๐๐,๐๐๐ DWT (๒) ท่อส่งน้ํามัน
เชื่อมต่อระหว่างทุ่นจอดเรือน้ํามัน (๓) คลังเก็บน้ํามัน สําหรับโรงกลั่นน้ํามันกําลังผลิต ๑.๕ ล้านบาร์เรล
ต่อวัน เงินลงทุนรวมประมาณ ๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ
(๓) ระบบการขนส่งสินค้า ประกอบด้วยการพัฒนาท่าเรือคอนเทนเนอร์ริมฝั่งหรือ
นอกฝั่งที่อําเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งมีศักยภาพเป็นท่าเรือระดับภูมิภาค (Regional Port) รองรับเรือ
ขนาด ๕,๐๐๐ TEU และพัฒนาท่าเรือคอนเทนเนอร์นอกฝั่งที่อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทําหน้าที่เป็น
Feeder Port รองรับเรือขนาด ๒,๐๐๐ TEU และพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อกับรถไฟสายหลักในปัจจุบัน
มายังท่าเรือที่จังหวัดสตูล
(๔) การพัฒนาอุตสาหกรรมสองฝั่งทะเลในบริเวณท่าเรือฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
โดยดําเนินการดังนี้ (๑) ส่งเสริมอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมี (๒) พัฒนา
อุตสาหกรรมเบา เช่น การรวบรวมและการกระจายสินค้า รวมถึงกิจการที่สนับสนุนโลจิสติกส์บริเวณ