Page 79 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 79

๖๕







                                ๒)  เมื่อวันที่ ๒๐-๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ การประชุมกลุ่มเทคนิคปฏิบัติการการ
                  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายใต้สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT ครั้งที่ ๑ ณ เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย

                  ประเทศไทยได้เสนอถนนสายสตูล-วังจัน-วังเกลียน–ปะลิส ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร แทนสายสตูล-ปะลิส

                  ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้แต่งตั้งคณะทํางานย่อยพิจารณารายละเอียด เมื่อวันที่ ๕-๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
                  ที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ไทย-มาเลเซีย ฝ่ายมาเลเซียขอให้ไทยคงเส้นทางสายสตูล-ปะลิสแนวเดิม

                  เนื่องจากสตูล-วังจันทร์-วังเกลียน-ปะลิส มีปัญหามาก ด้วยฝั่งมาเลเซียเป็นถนนที่อยู่บนช่วงเขา ๖

                  กิโลเมตร บางส่วนเป็นถนนหักศอกและการก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

                                ๓)  จังหวัดสตูลได้มีการสํารวจในเบื้องต้นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า บริเวณ

                  เขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่เหมาะสมที่จะขุดอุโมงค์ทะเลเขาที่กั้นเขตแดนทั้ง ๒ ประเทศ และ
                  เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จังหวัดสตูลได้จัดนําเสนอโครงการเจาะอุโมงค์ดังกล่าวต่อมุขมนตรี

                  รัฐปะลิส โดยโครงการดังกล่าวจะมีการขุดเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาสันกาลาคีรี หรือนาคาวัน (Nakawan)

                  ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร โดยเป็น
                  ระยะทางที่อยู่ในฝั่งประเทศมาเลเซีย ๒ กิโลเมตรและอยู่ในฝั่งประเทศไทย ๒ กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายในการ

                  ขุดเจาะอุโมงค์ออกกันคนละครึ่ง สําหรับการขยายถนนหรือก่อสร้างถนนและสะพาน หากอยู่ในประเทศ

                  ใดประเทศนั้นก็ต้องรับผิดชอบเอง ซึ่งทางประเทศมาเลเซียรับในหลักการและสนับสนุนโครงการดังกล่าว

                                ๔)  ขณะนี้กรมทางหลวงได้มีว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทําการศึกษาความเหมาะสมของ

                  โครงการขุดเจาะอุโมงค์เชื่อมต่อจังหวัดสตูล ประเทศไทย–รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย ตามมติ
                  คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่เห็นชอบให้

                  การศึกษาโครงการขุดเจาะอุโมงค์ และดําเนินการตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย

                  พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๗ วรรค ๒ อย่างเคร่งครัด มีระยะเวลาการศึกษา ๑๕
                  เดือน โดยเริ่มศึกษาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔




                         ๔.๔.๓. โครงการที่ยุติการดําเนินงาน


                                โครงการ Marine Terminal Pipeline Project โดย บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศ
                  ไทย จํากัด (มหาชน) ตัดสินใจชะลอการลงทุนและได้แจ้งไปยังบริษัท SKS corporation SDN BHD

                  (SKSC)  เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ซึ่งบริษัท SKSC  เป็นบริษัทในเครือของ Albukhary  Group

                  ประเทศมาเลเซีย เป็นผู้เสนอให้ บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จํากัด (มหาชน) เข้าไปร่วมลงทุนใน
                  โครงการ Marine Terminal Pipeline Project (MTP) ประกอบไปด้วยโรงกลั่นที่ Kota Perdana ทาง

                  ตอนเหนือของรัฐ Kedah มีกําลังการผลิตเบื้องต้น ๒๕๐ KBD และมีแผนจะขยายเป็น ๕๐๐ KBD โดยมี
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84