Page 63 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 63
๔๙
the Sustainable Development of Southern Thailand) โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียได้
ดําเนินการศึกษาในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ และ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นําเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ สรุปนโยบายการพัฒนาพื้นที่สะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยง อ่าวไทย-อันดามัน ในการเชื่อมโยง
พื้นที่ระหว่างสองฝั่งทะเล และพัฒนาภาคใต้สู่การเป็นประตูสู่ภูมิภาค โดยได้มีการกําหนดพื้นที่เพื่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจออกเป็น ๓ แกน ดังรูปภาพที่ ๑๐ คือ
(๑) สะพานเศรษฐกิจตอนบนระนอง-ชุมพร
เป็นแกนการพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ในพื้นที่
จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ต่อเนื่องมาจากจังหวัด ชุมพร ระนอง และเกาะสมุย เน้นการ
ท่องเที่ยวแบบชายทะเล การบริการดูแลสุขภาพและสปาระดับมาตรฐานโลก บนฐานศักยภาพด้าน
แหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ทั้งชายทะเลภูเขาที่มีภูมิทัศน์สวยงาม และแหล่งน้ําพุร้อนสําหรับ
การท่องเที่ยวในรูปแบบการบริการสุขภาพและสปา นอกจากนี้ยังพัฒนาเป็นแหล่งประมงและ
อุตสาหกรรมการแปรรูปการเกษตร
(๒) สะพานเศรษฐกิจด้านพลังงานพังงา-สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช
เป็นแกนการพัฒนาตามนโยบายสะพานเศรษฐกิจ ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรม
ในพื้นที่นี้จะมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่ใช้ฐานทรัพยากรก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก อาหารและแปรรูปเกษตร โดยเฉพาะโรงกลั่นน้ํามัน ปิโตรเคมี และ
อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งจะทําให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางเลือกใหม่ของประเทศ และ
อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนสําหรับสนับสนุนปาล์มน้ํามันเชื่อมโยงกับศูนย์ปาล์มน้ํามันที่กระบี่ และการ
เตรียมความพร้อมศึกษาวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ให้พร้อมรับการพัฒนาโครงการสะพาน
เศรษฐกิจพลังงานในระยะยาว
(๓) สะพานเศรษฐกิจตอนล่างสงขลา-สตูล-ปีนัง
เป็นแกนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซีย สนับสนุน
การพัฒนาตามโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย เพื่อพัฒนาภาคใต้
สู่ความเป็นศูนย์กลาง และประตูการค้า ด้วยการเสริมสร้างสมรรถนะและพัฒนาการขนส่งทางทะเลผ่าน
ท่าเรือปากบาราและท่าเรือสงขลาแห่งใหม่ พร้อมด้วยอุตสาหกรรมการส่งออก การพัฒนาการท่องเที่ยว
การค้า การบริการ อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาพื้นที่ชายแดน
เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนในการเสริมสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับประชาชน