Page 61 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 61

๔๗







                            -  ฝั่งตะวันออก จะมีถังเก็บน้ํามันและสิ่งอํานวยความสะดวกคล้ายคลึงกับฝั่ง
                  ตะวันตก แต่ทุ่นลอยขนถ่ายน้ํามันจะอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ ๑๕–๒๐ กิโลเมตร สําหรับเรือบรรทุก

                  น้ํามันขนาด ๘๐,๐๐๐–๑๔๐,๐๐๐ DWT  เนื่องจากฝั่งทะเลตะวันออกมีความลาดชันและความลึกของ

                  ร่องน้ําน้อย ส่วนถังเก็บน้ํามันทางฝั่งนี้จะทําหน้าที่รับน้ํามันดิบทางท่อขนส่งข้ามคาบสมุทรแล้วส่งต่อไป
                  ยังเรือบรรทุกน้ํามันเพื่อส่งไปยังประเทศต่าง ๆ ทางตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี เป็นต้น การพัฒนา

                  ต่อเนื่องบริเวณฝั่งตะวันออกได้แก่โรงกลั่นน้ํามัน นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ชุมชนใหม่ และธุรกิจ

                  ต่อเนื่องอื่น ๆ

                             ที่ผ่านมานอกจากกระทรวงพลังงานจะเป็นผู้กําหนดจุดที่ตั้งของปลายท่อน้ํามันทั้ง

                  สองฝั่ง เพื่อให้กรมทางหลวงสํารวจออกแบบและก่อสร้างถนนเชื่อมแล้ว และยังเป็นผู้พิจารณาแนว
                  ทางการลงทุนที่เหมาะสม โดยได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจัดทําแผนแม่บทการพัฒนาธุรกิจและ

                  อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการพัฒนาพลังงาน ระบบบริการพื้นฐานที่มีลําดับความสําคัญในการสนับสนุน

                  การพัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค  ตลอดจนระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งและชุมชนใน
                  อนาคตตลอดแนวพื้นที่โครงการ รวมถึงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน


                             นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
                  สิ่งแวดล้อม ดําเนินการประชาสัมพันธ์ทําความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ โดยคณะทํางานด้านมวลชน

                  สัมพันธ์ของโครงการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส ๒ ของปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่บทบาทที่

                  กระทรวงพลังงานให้น้ําหนักเป็นพิเศษก็คือการหาผู้ร่วมทุน (Strategic Partners) จากต่างประเทศ
                  โดยเฉพาะประเทศจีน ทั้งนี้กระทรวงพลังงานมีความหวังว่าจีนและเกาหลีจะเข้ามาร่วมลงทุนใน

                  โครงการนี้ในนามบริษัท China National Petroleum Corporation (CNPC) และ Korea National

                  Oil Corporation (KNOC)  ที่เป็นบริษัทน้ํามันแห่งชาติของจีนและเกาหลีและเป็นผู้ซื้อน้ํามันรายใหญ่
                  ของภูมิภาค ดังนั้นหากบริษัททั้ง ๒ ตัดสินใจเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ ทางผู้จําหน่ายน้ํามันดิบ คือ

                  คูเวตก็จะร่วมลงทุนด้วย และเพื่อให้โครงการแลนด์บริดจ์คุ้มทุน กระทรวงพลังงานจึงผลักดันให้มีการ

                  สร้างโรงกลั่นน้ํามันเพิ่มขึ้นด้วย อันจะเพิ่มแรงจูงใจให้ต่างประเทศ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และกลุ่ม
                  ประเทศในตะวันออกกลางเข้ามาลงทุน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗

                  โดยมีความเห็นให้อยู่ที่ฝั่งตะวันออก บริเวณอําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโรงกลั่นน้ํามันที่มี

                  กําลังผลิต ๕๐๐,๐๐๐ บาร์เรลต่อวัน ใช้เงินลงทุนมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยมี บริษัท
                  ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จํากัด (มหาชน) เป็นแกนนําร่วมกับพันธมิตรต่างชาติ คาดว่าจะแล้วเสร็จ

                  ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๑

                             ภัยพิบัติสึนามิที่ส่งผลกระทบรุนแรงและกว้างขวางในบริเวณพื้นที่จังหวัดพังงา

                  เมื่อปลายเดือนธันวาคม ๒๕๔๗ ส่งผลให้จีนซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโครงการรายสําคัญแสดงท่าทีลังเล และ
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66