Page 65 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 65
๕๑
๔.๓ แผนพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อรองรับแผนพัฒนาภาคใต้
๔.๓.๑ แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan, PDP)
และการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับอุตสาหกรรมในภาคใต้
จากการวางแผนให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางพลังงาน รวมทั้งการขยายพื้นที่อุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีระยะที่ ๓ ลงสู่พื้นที่ภาคใต้ อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง
มาก ทําให้มีความจําเป็นต้องเพิ่มกําลังการผลิตกระแสไฟฟ้าในภาคใต้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันการที่
จะสร้างหรือเพิ่มกําลังผลิตโรงไฟฟ้าใหม่ได้ จะสามารถพัฒนาได้ตามที่ถูกกําหนดไว้ในแผนพัฒนากําลัง
ผลิตไฟฟ้า หรือแผน PDP ก่อน
แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าเป็นแผนที่กระทรวงพลังงานจัดทําขึ้นเพื่อรองรับนโยบาย
เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้า โดยมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดทําแผน แล้วนําเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงาน
แห่งชาติ (กพช.) เพื่อให้ความเห็นชอบ และจัดทําเป็นแผนการวางแผนขยายลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้า
ล่วงหน้าระยะยาวของประเทศประมาณ ๑๕-๒๐ ปี ในแผนดังกล่าวจะระบุค่าพยากรณ์ความต้องการ
พลังไฟฟ้า ซึ่งมีความสําคัญต่อการวางแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้า หากการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า
มีความถูกต้องและแม่นยํา จะทําให้การลงทุนในการขยายกําลังการผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการ
ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้จะระบุถึงโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เชื้อเพลิง
ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและนิวเคลียร์ โครงการขนาดเล็กและเล็กมาก ทั้งที่เป็นระบบการใช้พลังงานร่วม
(Cogeneration) และพลังงานหมุนเวียน เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต การขยายระบบส่งไฟฟ้า ประมาณการณ์
เงินลงทุนการขยายกําลังการผลิตไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า ผลกระทบค่าไฟฟ้า และปริมาณการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น จากการกําหนดโครงการโรงฟ้าประเภทต่าง ๆ ที่จะ
พัฒนาขึ้น และกําหนดว่าโรงไฟฟ้าประเภทใดจะถูกสร้างเมื่อไหร่ โดยใคร และมีจํานวนกี่โรง แต่ไม่ระบุ
สถานที่ก่อสร้างที่ชัดเจน การก่อสร้างดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนหลายพันหรือหลายหมื่นล้านบาท และ
อาจส่งผลกระทบในด้านทรัพยากรธรรมชาติสังคมในพื้นที่ได้
แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๗๓ (PDP ๒๐๑๐) ได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในยุคสมัย นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ เพื่อความมั่นคงในการจัดหาไฟฟ้าใน
อนาคต กระตุ้นการลงทุนด้านพลังงาน และในระยะที่ผ่านได้มีการปรับปรุงแผน PDP ๒๐๑๐ ไปแล้ว
จํานวน ๓ ครั้ง ดังนี้
๑) การปรับปรุงแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าครั้งที่หนึ่ง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เห็นชอบแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้น (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๒) จึงได้มีการปรับปรุง