Page 62 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 62

๔๘







                  รัฐบาลเองก็สั่งให้ บริษัท ปตท. ทบทวนแผนการดําเนินโครงการ รวมทั้งการศึกษาของบริษัทญี่ปุ่นก็มี
                  ข้อสรุปว่า พื้นที่บริเวณทับละมุ จังหวัดพังงาไม่เหมาะที่จะวางท่อส่งน้ํามันและตั้งคลังเก็บน้ํามัน

                  เนื่องจากอยู่ในแนวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคลื่นยักษ์สึนามิ  ส่วนการสร้างทุ่นรับเรือกลางทะเลก็

                  จะต้องห่างฝั่งอย่างน้อย ๕๐–๖๐  กิโลเมตร ซึ่งไม่คุ้มค่าการลงทุน กลางปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ทางกระทรวง
                  พลังงานจึงต้องสั่งชะลอโครงการออกไปอย่างไม่มีกําหนด อย่างไรก็ดี สําหรับเป้าหมายการพัฒนา

                  ประเทศเป็นศูนย์กลางการค้าพลังงานในภูมิภาคนั้นยังคงเดิม

                             ถึงแม้ว่าโครงการข้างต้นจะถูกชะลอไป แต่ก็ได้มีย่อยและแยกส่วนบางโครงการ

                  โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อรองรับแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้และ

                  ยุทธศาสตร์พลังงานให้สามารถแบ่งส่วนทยอยดําเนินการได้ เช่น การก่อสร้างหลวงหมายเลข ๔๔ หรือ
                  ถนนเซาเทิร์นซีบอร์ด ขนาด ๔ ช่องจราจร ความยาว ๑๓๔ กิโลเมตร เพื่อเชื่อมฝั่งตะวันตก อําเภอเมือง

                  จังหวัดกระบี่ และฝั่งตะวันออก อําเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะพิเศษของถนนเส้นนี้ คือ

                  มีการเว้นเกาะกลางถนนไว้กว้างประมาณ ๑๕-๑๘ เมตร สําหรับวางแนวท่อก๊าซและท่อน้ํามัน ตาม
                  รูปแบบของสะพานเศรษฐกิจที่กําหนดในแผนเซาเทิร์นซีบอร์ด การผลักดันที่โครงการพัฒนาแหล่งน้ํา

                  ต่าง ๆ ของกรมชลประทาน ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ําคลองกลาย อ่างเก็บน้ําท่าทน อําเภอสิชล จังหวัด

                  นครศรีธรรมราช อ่างเก็บน้ําคลองลํารูใหญ่ อําเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เขื่อนท่าแซะ อําเภอท่าแซะ
                  จังหวัดชุมพร ฯลฯ


                                ๒)  แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (พ.ศ. ๒๕๕๐–ปัจจุบัน)

                             หลังจากที่มีการชะลอแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ดังกล่าวข้างต้น ต่อมาใน

                  ปี พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๑ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีข้อจํากัดที่คาดว่าจะ

                  รองรับการพัฒนาได้ประมาณ ๕ ปี รัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าว โดยคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่
                  ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ มอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                  ดําเนินการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในภาคใต้ สําหรับรองรับการพัฒนา
                  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานในอนาคตให้สอดคล้องกับศักยภาพและภูมิสังคม รวมถึง

                  อุตสาหกรรมของประเทศในอนาคต ทั้งนี้รวมถึงการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงานที่จะ

                  ขยายตัวจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมาสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ นโยบายดังกล่าวนี้สอดรับกับ
                  แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๗–๒๕๖๑) ที่อยู่ในยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อการ

                  แข่งขันของประเทศ


                             ต่อมาคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ให้สํานักงาน
                  คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคาร

                  เพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เพื่อศึกษาการวางแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Planning for
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67