Page 66 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 66

๕๒







                  แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าครั้งที่ ๑ (PDP  ๒๐๑๐ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๑) โดยเร่งรัดการพัฒนาโรงไฟฟ้า
                  พระนครเหนือชุดที่ ๒ (๘๐๐ เมกะวัตต์) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งปรับแผนให้มีการ

                  เร่งสร้างโครงการโรงไฟฟ้าวังน้อยหน่วยที่ ๔ (๘๐๐ เมกะวัตต์) และโครงการโรงไฟฟ้าจะนะ หน่วยที่ ๒

                  (๘๐๐ เมกะวัตต์) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นจากแผนการเดิม ๓ เดือน
                  และยังมีปรับปรุงแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กด้วยระบบการผลิตไฟฟ้าและความร้อน

                  ร่วมกัน

                                ๒)  การปรับปรุงแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าครั้งที่สอง  ทั้งนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ

                  วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ได้มีมติเห็นชอบแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้า ๒๐๑๐ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๒

                  จากอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมา ทําให้มีการชะลอโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป ๓ ปี
                  เพื่อทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัยและการยอมรับของประชาชนในประเทศ และเร่งกําหนดการ

                  จ่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเข้ามาทดแทนเร็วขึ้น จากเดิม

                  ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มาเป็นปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การดําเนินดังกล่าวส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ
                  เพิ่มขึ้น กระทรวงพลังงานจึงมอบหมายให้บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จํากัด (มหาชน) พิจารณา

                  ปรับแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับความ

                  ต้องการก๊าซธรรมชาติให้เหมาะสมต่อไป

                                ๓)  การปรับปรุงแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าครั้งที่ ๓ เป็นผลจากนโยบายของรัฐบาล

                  นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่จะส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานเป็น
                  อุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้าน

                  พลังงานและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาค และสร้างเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน

                  โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานและระบบไฟฟ้าจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการ
                  กระจายแหล่งและประเภทพลังงานใหม่ ให้มีความหลากหลาย เหมาะสมและยั่งยืน โดยมีกําลังการผลิต

                  ไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๗๓ รวม ๕๕,๐๖๕ เมกะวัตต์ ดังรายละเอียดในตารางที่ ๒

                                ปัจจุบัน สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างการจัดทํา

                  ร่างแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในระยะยาวฉบับใหม่ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๗๓) หรือ แผน

                  PDP  ๒๐๑๓ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
                  พลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ที่ได้สั่งให้มีการทบทวน โดยให้ลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงที่เป็น

                  ก๊าซธรรมชาติให้เหลือร้อยละ ๔๕ (จากปัจจุบันร้อยละ ๖๘) และเพิ่มสัดส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินให้เป็น

                  ไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๒๐ (จากปัจจุบันร้อยละ ๑๘.๘)  หรือให้มีกําลังการผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ต่ํากว่า
                  ๑๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ (จากปัจจุบัน ๔,๐๐๐ เมกะวัตต์) ทั้งนี้ได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็น

                  ผู้ก่อสร้าง พร้อมกันนี้ก็ให้เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ําเป็นไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๑๕ (จากปัจจุบัน
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71