Page 67 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 67
๕๓
ร้อยละ ๑๐) โดยจะให้เพิ่มเป็นไม่ต่ํากว่า ๑๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ จากการซื้อไฟฟ้าพลังน้ําจากประเทศ
เพื่อนบ้าน เช่น สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาชนลาว เป็นต้น และเหตุผลสําหรับการปรับปรุงครั้งนี้ ก็
เพื่อลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติให้มีความมั่นคง และลดความเสี่ยงจากการหยุดจ่ายก๊าซของพม่า รวมทั้ง
อ้างเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา
ตารางที่ ๒ กําลังการผลิตไฟฟ้าตามประเภทโรงไฟฟ้า ในแผน PDP ๒๐๑๐ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๓)
ประเภทโรงไฟฟ้า กําลังการผลิตไฟฟ้า (เมกะวัตต์)
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ๙,๕๑๖
โรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ๖,๓๗๔
โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม (ก๊าซธรรมชาติ) ๒๕,๔๕๑
โรงไฟฟ้าถ่านหิน ๔,๔๐๐
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ๒,๐๐๐
โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ๗๕๐
รับซื้อจากต่างประเทศ ๖,๕๗๒
ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (๒๕๕๕)
๑) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ภาคใต้มีกําลังการผลิตไฟฟ้ารวม ๒,๔๒๙ เมกะวัตต์ โดยมี
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (ก๊าซธรรมชาติ) ที่อําเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และ อําเภอจะนะ
จังหวัดสงขลา โรงไฟฟ้าน้ํามันเตา ที่อําเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ รวมทั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ําจากเขื่อน
รัชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา นอกจากนี้ยังมีระบบเสริมบางส่วนที่ซื้อ
มาจากประเทศมาเลเซีย ๓๐๐ เมกะวัตต์ รวมถึงระบบสายส่งเสริมจากภาคกลางอีก ๕๐๐ เมกะวัตต์ ซึ่ง
ในปี ๒๕๕๔ พบว่าภาคใต้มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเพียง ๑,๘๔๘ เมกะวัตต์ จะเห็นได้ว่าภาคใต้นั้นมีไฟฟ้าใช้
เพียงพอ และยังเหลือสํารองไว้อีก
สําหรับภาคใต้ยังมีโรงไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันกําลังอยู่ในระหว่างดําเนินการโครงการและ
ก่อสร้าง คือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะ ๒ อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีแผนที่จะเริ่มจ่าย
ไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และเมื่อเปิดดําเนินการโรงไฟฟ้า จะมีกําลังการผลิตติดตั้ง
ประมาณ ๘๖๐ เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนอม อําเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
กําลังผลิตประมาณ ๙๐๐ เมกะวัตต์ เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าขนอมของบริษัท EGCO ที่มีกําลังการผลิต
๗๐๐ เมกะวัตต์ โดยจะเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ปีเดียวกับที่โรงไฟฟ้าเดิมจะหมดอายุ
สัญญา