Page 68 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 68
๕๔
แต่ปัจจุบันในพื้นที่ภาคใต้มีการทํางานประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ของ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในหลายจังหวัด โดยพื้นที่คาดว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จะเป็นพื้นที่
บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพราะจะต้องมีการขนส่งถ่านหินที่นําเข้าจากอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ได้
สะดวก ปัจจุบันพื้นที่ในภาคใต้ที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยังคงมีการเข้าไปดําเนินงาน
ประชาสัมพันธ์ ศึกษาความเหมาะสม หรือผลักดันให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้แก่ อําเภอทับสะแก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร อําเภอท่าศาลาและอําเภอหัวไทร จังหวัด
นครศรีธรรมราช อําเภอกันตรัง จังหวัดตรัง และ อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
๒) โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในภาคใต้
หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้อนุมัติแผนพัฒนา
กําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๖๔ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๒ (PDP ๒๐๐๗ ฉบับปรับปรุง
ครั้งที่ ๒) ในปี ๒๕๕๑ ซึ่งในแผนดังกล่าวได้มีการกําหนดให้ประเทศไทยเริ่มมีกําลังการผลิตไฟฟ้าจาก
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔ จํานวนปีละ ๑,๐๐๐ เมกะวัตต์ รวมจํานวน
๒,๐๐๐ เมกะวัตต์ และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดตั้ง
สํานักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (สพน.) และเห็นชอบแผนงานและงบประมาณใน
การศึกษาความเหมาะสม และการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ในช่วง
๓ ปีแรก (พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓) ของการเตรียมเริ่มโครงการ
จากผลการศึกษาสถานที่เหมาะสมจะตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย โดย
พิจารณาปัจจัยด้านความปลอดภัย มนุษย์และสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์และด้านวิศวกรรมตามลําดับ
ได้มีการดําเนินการคัดเลือกพื้นที่เหมาะสม ๕ แห่ง จากพื้นที่ที่มีศักยภาพ ๑๔ แห่ง ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมาย
อยู่ใน ๖ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัด
สุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช และต่อมาได้มีการเพิ่มพื้นที่เป้าหมายเพิ่มอีก ๓ จังหวัด คือ
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดตราด และ จังหวัดนครสวรรค์ (รูปภาพที่ ๑๑) ซึ่งบริษัท เบิร์นส์ แอนด์ โร
(Burns and Roe) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้ศึกษาและ
สํารวจพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ได้คัดเลือกพื้นที่เหมาะสมเหลือ ๕ พื้นที่ใน ๔ จังหวัด
ของประเทศ ได้แก่ (๑) อําเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๒) อําเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
(๓) อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช (๔) อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด (๕) อําเภอท่าตะโก จังหวัด
นครสวรรค์
ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการชะลอโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป
เป็นระยะเวลา ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖) เพื่อทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัยและการยอมรับ
ของประชาชนในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International