Page 46 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 46
๓๒
ทําให้กลุ่มทุนอุตสาหกรรมจัดวางตําแหน่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของ
ภูมิภาคนี้ ซึ่งจะนําไปสู่ความจําเป็นที่จะต้องพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาค
นี้ ด้วยการพัฒนาโครงสร้างการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก อากาศและทะเล ที่สะดวกทันสมัย อันจะ
เชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการที่จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือที่เรียกกันว่า
เขตเศรษฐกิจเสรี เขตปลอดอากร โดยมีหลักคิดที่จะทําให้การซื้อขายสินค้า การซื้อขายอุปกรณ์
เครื่องมือ และการเข้ามาทํางานของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศระหว่างภูมิภาค สะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้อง
เสียภาษีหรือเสียภาษีให้น้อยที่สุด
การที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานและการคมนาคมนี้ ส่งผลกระทบกับ
ภาคใต้โดยตรง เพราะการที่จะบรรลุความเป็นศูนย์กลางได้มีความจําเป็นที่จะต้องเชื่อมเส้นทางการ
ขนส่งพลังงานและสินค้าระหว่างอันดามันและอ่าวไทยด้วยสะพานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพลังงาน รวมทั้ง
การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านปิโตรเคมีแบบครบวงจรขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ด้วย ซึ่งจะเห็นได้จาก
ความพยายามที่จะผลักดันทั้งจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ในการที่จะพัฒนาโครงการสะพานเศรษฐกิจ
นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะรองรับอุตสาหกรรม ตั้งแต่ท่าเรือขนส่ง
โรงไฟฟ้า เขื่อนและอ่างเก็บน้ํา ในพื้นที่ภาคใต้ ด้วยแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ จึงทําให้หน่วยงานทั้งของ
รัฐและเอกชนในประเทศไทย ได้มีการจัดทํายุทธศาสตร์และแผนงานระดับชาติที่จะสอดรับและผลักดัน
ให้ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานและศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคนี้
รวมทั้งการกําหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อการผลิตการค้าอย่างเสรีและปลอดภาษี (รูปภาพที่ ๕)
สรุปได้ดังต่อไปนี้
๔.๒.๑ ผังประเทศปี ๒๖๐๐
ผังประเทศปี ๒๖๐๐ เป็นการกําหนดทิศทางและนโยบายระยะยาว ๕๐ ปี (ปี ๒๖๐๐)
ของประเทศไทย เพื่อที่จะได้นํามาเป็นกรอบหลักในการจัดทําผังเมืองให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ
ผังประเทศ ปี ๒๖๐๐ นี้ จัดทําขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ในยุคสมัยนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โดยได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้ดําเนินการจัดทําผังประเทศ
และผังภาค และจัดทําผังกลยุทธ์ระยะเร่งด่วน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕) ระยะ ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐) และ
ระยะ ๑๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๕) โดยกําหนดวิสัยทัศน์ในการวางและจัดทําผังประเทศในระยะ ๕ ปีแรก
(พ.ศ. ๒๕๕๕) คือ ประเทศไทยเป็นประตูการค้าระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนตอนใต้ โดยเป็น
ศูนย์กลางการผลิต ส่งออก แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย และอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรที่ใช้
นวัตกรรม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบริการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้