Page 43 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 43

๒๙







                             รัฐบาลของทั้งสามประเทศต้องการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่
                  ภายใต้ลักษณะของความร่วมมือและการประสานประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจตลอดจนการใช้

                  ประโยชน์จากทรัพยากรการผลิตที่แต่ละประเทศมีความได้เปรียบ ซึ่งทรัพยากรสําคัญที่มีการตกลง

                  ร่วมกันใช้ ก็คือ แหล่งปิโตรเลียม โดยภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งออก
                  กฎระเบียบที่จะขจัดอุปสรรคในการผ่านแดนและมาตรการกีดกันทางการค้า แล้วจึงให้ภาคเอกชนของ

                  ทั้ง ๓ ประเทศเป็นผู้นําในการลงทุนทั้งด้านอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและการขนส่ง

                             การพัฒนากลไกร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานในพื้นที่ของประเทศในเขต

                  สามเหลี่ยมเศรษฐกิจให้มียุทธศาสตร์และทิศทางการทํางานที่สอดคล้องร่วมกัน แบ่งออกเป็น ๕ ระดับ

                  ตั้งแต่ (๑) กลไกระดับชาติของหน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจของประเทศ  ซึ่งทําหน้าที่เป็นฝ่าย
                  เลขานุการระดับชาติ รวมทั้งดูแลติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินงานต่าง ๆ (๒) กลไกระดับทํางานใน

                  สาขาต่าง ๆ (๓) กลไกภาคเอกชน ได้แก่ สภาธุรกิจร่วมสามฝ่าย (๔) การประชุมระดับรัฐมนตรีและ

                  เจ้าหน้าที่อาวุโส ที่จัดเป็นประจําทุกปี โดยจัดพร้อมกับการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดและมุขมนตรีเขต
                  เศรษฐกิจสามฝ่าย (๕) การประชุมระดับสุดยอดผู้นําเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ซึ่งจะจัดเป็นประจําทุกปี

                  คู่ขนานกับการประชุมระดับสุดยอดผู้นําอาเซียน

                             ผลพวงที่สําคัญจากการขับเคลื่อนไหวของกลุ่มเอกชนอุตสาหกรรม ในความ

                  ร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายผ่านสภาธุรกิจร่วมสามฝ่าย ก็คือ การผลักดันโครงการท่อส่งก๊าซและ

                  โรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นอุตสาหกรรมหนักครั้งแรกลงบนแผ่นดิน
                  ภาคใต้ของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐  การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้ลงนามในสัญญากับ

                  บริษัทน้ํามันแห่งชาติของมาเลเซีย (เปโตรนาส) เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนใน

                  โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย–มาเลเซีย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ รัฐบาลของไทยและมาเลเซีย
                  ก็ได้เห็นชอบร่วมกันในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติภายใต้พื้นที่พัฒนาร่วมไทยมาเลเซีย (Malaysia-Thailand

                  Joint Development  Area, JDA)  รวมทั้งเห็นชอบในหลักการร่วมกันของโครงการท่อส่งก๊าซ และ

                  โรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ได้มีการจัดทําแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการ
                  การพัฒนาเขตเศรษฐกิจปีนัง-สงขลา เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นจากใช้ประโยชน์จาก

                  ก๊าซธรรมชาติในอนาคต

                                ๒)  แผนพัฒนาโครงการสะพานเศรษฐกิจปีนัง–สงขลา


                             โครงการสะพานเศรษฐกิจปีนัง–สงขลา เกิดขึ้นจากผลักดันของภาคธุรกิจเอกชน

                  มาเลเซียในการประชุมไตรภาคีระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ตามแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ
                  สามฝ่าย  ครั้งที่ ๕ ที่จังหวัดนราธิวาส ในระหว่างวันที่ ๑๙–๒๒ ธันวาคม ๒๕๓๘ โครงการจะเน้นการ

                  พัฒนาเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งพลังงานและการคมนาคมระหว่างมาเลเซียและไทยด้วย
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48