Page 44 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 44

๓๐







                  การสร้างท่อขนส่งน้ํามันและก๊าซธรรมชาติเชื่อมต่อระหว่าง ปีนัง–สงขลา สร้างถนนมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อ
                  ท่าเรือสงขลาถึงท่าเรือปีนัง รวมทั้งเส้นทางรถไฟรางคู่สงขลา-ปีนัง ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายพลังงาน

                  ไฟฟ้า การพัฒนาอุตสาหกรรม ด่านศุลกากร เป็นต้น

                             จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ก็ได้มีการจัดตั้งโครงการนําร่องที่เป็นธุรกิจร่วมทุน

                  ระหว่างเอกชนของมาเลเซียกับญี่ปุ่น โดยขอสนับสนุนด้านการเงินจากกองทุนความร่วมมือทาง

                  เศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ OECF (Overseas Economic Cooperation Fund) และมี
                  บริษัทเปโตรนาส ซึ่งเป็นบริษัทน้ํามันแห่งชาติของมาเลเซียให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ที่จะพัฒนา

                  โครงการต่าง ๆ ภายใต้สะพานเศรษฐกิจนี้

                             ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้มีการปรับเปลี่ยนและขยายแนวเขตการพัฒนา

                  เศรษฐกิจเป็น สงขลา–ปีนัง–เบลาวัน และได้มีการขยายแนวเขตเพิ่มเติมอีกในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น เขต

                  เศรษฐกิจต่อเนื่องสงขลา–ปีนัง–เมดาน (Seamless Songkhla–Penang–Medan Economic Corridor)
                  หรือสะพานเศรษฐกิจสงขลา–ปีนัง–เมดาน ซึ่งแนวคิดหลักของโครงการยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้าง

                  พื้นฐานเพื่อรองรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจ  ทั้งด้านการคมนาคมขนส่งและพลังงาน การพัฒนาอุตสาหกรรม

                  เพื่อการส่งออก การกําหนดมาตรการดึงดูดผู้ลงทุนให้สอดคล้องกับข้อกําหนดขององค์การการค้าโลก
                  หรือ WTO และได้มีการเพิ่มเติมในส่วนของการพัฒนาเส้นทางขนส่งพลังงานทางทะเลและสายส่งไฟฟ้า

                  เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายพลังงานแบบเต็มระบบจากสงขลาสู่ปีนังและเมดาน เกิดเป็น

                  แกนกลางของแนวเขตเศรษฐกิจที่คาดหมายว่าทุกจังหวัดและรัฐในอนุภูมิภาคจะเชื่อมโยงทางกายภาพ
                  เข้าสู่สะพานเศรษฐกิจนี้ในอนาคต สําหรับโครงการภายใต้สะพานเศรษฐกิจ สงขลา–ปีนัง–เมดาน

                  ประกอบด้วย ๓ กลุ่มโครงการ ดังนี้


                                    -   กลุ่มที่ ๑ โครงการที่สนับสนุนโครงการแกนกลาง เช่น เส้นทางลําเลียงสินค้า
                  ท่าเรือ คลังสินค้าและบริการ CIQ (Customs Immigration Quarantine)


                             -  กลุ่มที่ ๒ โครงการที่ได้ประโยชน์จากโครงการสะพานเศรษฐกิจสงขลา–ปีนัง–
                  เมดาน ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้า บริการชักลาก การท่องเที่ยว


                             -  กลุ่มที่ ๓ โครงการที่ก่อให้เกิดหรืออุตสาหกรรมที่มีความใกล้ชิดกับโครงการ
                  สะพานเศรษฐกิจสงขลา–ปีนัง–เมดาน ได้แก่ อุตสาหกรรมการกลั่นน้ํามันและแยกก๊าซธรรมชาติ

                  อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และพลังงาน ซึ่งประกอบไปด้วย ๒ แผนงาน คือ ๑) แผนการจัดตั้งเขต

                  อุตสาหกรรม และ ๒) แผนการจัดตั้งกิจการร่วมผลิตร่วมลงทุนโดยได้รับการสนับสนุนด้วยมาตรการ
                  พิเศษ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49