Page 42 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 42

๒๘







                         ๔.๑.๒  แผนงานและโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค

                                ที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาคใต้


                                ภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคได้ก่อให้เกิดรูปธรรมของแผนงานและโครงการ
                  ระหว่างประเทศในการเข้ามาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน โดยเฉพาะกรอบในความร่วมมือเศรษฐกิจสามฝ่าย

                  อินโดนีเซีย–มาเลเซีย–ไทย ที่ได้มีการจัดทําแผนงานโครงการที่จะเข้ามาร่วมกันพัฒนาพื้นที่ในจังหวัด
                  ภาคใต้ให้สู่เศรษฐกิจนานาชาติ โดยเน้นให้เอกชนเป็นผู้นําในการลงทุนทั้งอุตสาหกรรมและการค้า ส่วน

                  ภาครัฐจะเป็นผู้สนับสนุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ให้เอกชนในการ

                  ผ่านแดน และขจัดมาตรการกีดกันทั้งหลายให้เกิดการค้าอย่างเสรี โดยมีแผนงานสําคัญที่เกี่ยวข้อง
                  โดยตรงและส่งผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคใต้ คือ แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย

                  อินโดนีเซีย–มาเลเซีย–ไทย และแผนงานพัฒนาโครงการสะพานเศรษฐกิจปีนัง–สงขลา ซึ่งสามารถสรุป

                  สาระสําคัญในแต่ละแผนงานได้ดังนี้

                                ๑)  แผนงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย–มาเลเซีย–ไทย

                               (Indonesia–Malaysia Thailand Growth Triangle: IMT-GT)

                             หลังจากมีการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย–มาเลเซีย–ไทย (IMT–GT)

                  หรือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจขึ้น ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian development Bank, ADB) ซึ่งมีรัฐบาลญี่ปุ่น

                  เป็นผู้ที่หุ้นใหญ่ ก็ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการศึกษาความเป็นไปได้  และรายละเอียด
                  การดําเนินงานของการกําหนดกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยให้ภาคเอกชน

                  เข้ามามีบทบาทหน้าที่หลักในการพัฒนา และนําเสนอให้ภาครัฐอํานวยความสะดวกให้ด้วยการพัฒนา

                  ด้านโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อกระตุ้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาค ซึ่งมี
                  สาขาความร่วมมือระยะแรก ได้แก่ การขนส่งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ การท่องเที่ยว การค้า

                  การลงทุนและอุตสาหกรรม การเงิน การเกษตรและปศุสัตว์ โทรคมนาคม เป็นต้น

                             พื้นที่ความร่วมมือเมื่อเริ่มก่อตั้งประกอบด้วย ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของ

                  ประเทศไทย ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส กับ ๔ รัฐของมาเลเชีย ได้แก่ ปีนัง เกดะห์

                  เประ ปะลิส และ ๒ จังหวัดบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ได้แก่ อาเจห์ และสุมาตราเหนือ ในปัจจุบัน
                  พื้นที่ความร่วมมือเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย–มาเลเซีย–ไทย ได้ขยายพื้นที่ครอบคลุม ๑๔ จังหวัด

                  ภาคใต้ของไทย และ ๑๐ จังหวัดของอินโดนีเซีย โดยเพิ่มสุมาตราตะวันตก สุมาตราใต้ เรียว

                  เรียวไอแลนด์ จัมบี เบงกูลู-เบลิตุง และลัมปุง และ ๘ รัฐของมาเลเซีย โดยเพิ่ม กลันตัน สลังงอร์ มะละกา
                  และเนกรีเซมบิลัน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47