Page 45 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 45

๓๑







                             ปัจจุบันได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ต่อเนื่องมาโดยตลอด ยกเว้นการ
                  พัฒนาท่อพลังงานในเส้นทางปีนัง-สงขลา ทั้ง ๆ ที่มีการพยายามผลักดันของมาเลเซียมาเป็นระยะ ๆ แต่

                  ก็ยังไม่สามารถดําเนินการได้ เนื่องจากรัฐบาลไทยไม่เห็นชอบ ด้วยเกรงว่าจะมีผลกระทบกับสะพาน

                  เศรษฐกิจพลังงานของประเทศไทย

                             ผลสําคัญของโครงการนี้ต่อการพัฒนาภาคใต้ก็คือ แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาพื้นที่

                  ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย IMT-GT ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ
                  วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ ได้มอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                  เป็นผู้รับผิดชอบ และต่อมาก็ได้มีการจัดจ้าง บริษัท Seatec จํากัด เป็นผู้ดําเนินการศึกษาและจัดทํา

                  แผน ในระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๓๘-เดือนมกราคม ๒๕๔๐




                  ๔.๒  ยุทธศาสตร์ประเทศและแผนงานระดับชาติ
                         ที่เป็นกลไกสําคัญในการผลักดันและสนับสนุนแผนพัฒนาภาคใต้

                         จากกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่จะร่วมผลักดันให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นศูนย์กลางที่สําคัญของโลก

                  ด้านขนส่ง พลังงาน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านปิโตรเคมี ผนวกกับการที่ทรัพยากรปิโตรเลียมในอ่าว
                  ไทยอุดมทั้งน้ํามันดิบและก๊าซธรรมชาติ อีกทั้งตําแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยก็อยู่ตรง

                  ศูนย์กลางอาเซียน และสามารถเชื่อมต่อกับประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ตลอดจนมีศักยภาพที่จะ

                  พัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกในอนาคตได้ (รูปภาพที่ ๔)



























                                  รูปภาพที่ ๔  ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศไทยในอาเซียนและโลก

                                                    ที่มา : อาภา (๒๕๕๕)
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50