Page 39 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 39

๒๕







                                ๑)  กรอบความร่วมมืออาเซียน (Association of South East Asian Nations หรือ
                  ASEAN) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกอบด้วย ๑๐  ประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย

                  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บูรไนดารุสซาราม  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตย

                  ประชาชนลาว สิงคโปร์ สหภาพพม่า และราชอาณาจักรกัมพูชา และผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามใน
                  “ข้อตกลงบาหลี ๒” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อให้อาเซียนรวมตัวกันเป็นชุมชนหรือประชาคม

                  เดียวกันให้สําเร็จภายในปี ๒๕๖๓ แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

                  โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจ
                  อาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน


                                ๒)  กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Sub
                  region  หรือ GMS)  ประกอบด้วย ๖ ประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย  สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา

                  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน (ยูนนาน) และสาธารณรัฐสังคมนิยม

                  เวียดนาม ก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB)
                  เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ําโขงมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม

                  ให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตรและบริการ สนับสนุนการจ้างงานและ

                  ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและ
                  การศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและ

                  เพิ่มขีดความสามารถ รวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาค

                  ลุ่มแม่น้ําโขงยังมีแผนงานพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเชื่อมต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ (รูปภาพที่ ๓) ตาม ๓
                  แนวเส้นทางเศรษฐกิจ คือ (๑) แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)

                  เชื่อมโยง ไทย-พม่า-ลาว-จีน (๒) แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic

                  Corridor)  เชื่อมโยง พม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม  และ (๓) แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern
                  Economic Corridor) เชื่อมโยง ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม


                             นอกจากนี้ ประเทศในความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ําโขงได้ลงนาม
                  ความตกลงความร่วมมือด้านพลังงานว่าด้วยการซื้อขายไฟฟ้าและการสร้างเครือข่ายสายส่ง (Regional

                  Power Interconnection and Trading Arrangements) ระหว่างรัฐบาล ๖ ประเทศในลุ่มแม่น้ําโขง

                  (Inter-Governmental Agreement on Regional Power Trade) เมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ โดย
                  ความตกลงนี้มีวัตถุประสงค์ให้ประเทศสมาชิกร่วมมือและวางแผนพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าที่เชื่อมต่อโยงกัน

                  รวมไปถึงกลไกในการดําเนินการซื้อขายไฟฟ้าในอนุภูมิภาค
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44