Page 38 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 38
๒๔
๔.๑.๑ กรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคแรงผลักดันและสนับสนุนแผนพัฒนาภาคใต้
กรอบความร่วมมือในภูมิภาคเป็นการสร้างข้อตกลงภายในร่วมกันระดับประเทศ ด้วย
ลักษณะที่ได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของอาเซียน ประเทศในภูมิภาคนี้จึงมีการพัฒนากรอบข้อตกลงร่วมกัน
เพื่อที่จะรวมตัวกันพัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและประตูการค้าที่สําคัญของโลกด้วยกลยุทธการ
พัฒนาโครงข่ายการขนส่งทั้งพลังงานและสินค้าที่เชื่องโยงทั่วถึงกันทั้งในประเทศ ระหว่างประเทศ และ
ในภูมิภาค แนวคิดนี้นอกจากจะเป็นแรงผลักดันสําคัญให้ประเทศไทยต้องมุ่งเป้าเป็นศูนย์กลางขนส่งและ
พลังงานของภูมิภาคด้วยแล้ว ก็ยังทําให้มีการริเริ่มสร้างโครงสร้างและกลไกต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อ
การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน และการลงทุนภายในภูมิภาคให้เป็นตลาดเดียวของกลุ่มทุนอย่าง
เสรี เช่น การพัฒนาระบบเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าและกลไกการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค การจัดการและ
แบ่งปันก๊าซธรรมชาติบนบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล การพัฒนาศูนย์กลางการขนส่ง และโลจิสติกส์
ของภูมิภาค การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เชื่อมโยง ไทย-พม่า
และลาว-จีน แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยง พม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม แนวพื้นที่
เศรษฐกิจตอนใต้ เชื่อมโยง ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย
เป็นต้น ประเทศไทยได้เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค
๕ กรอบ ดังแสดงไว้ในรูปภาพที่ ๒ โดยสามารถสรุปสาระสําคัญของแต่ละกรอบความร่วมมือได้ดังนี้
รูปภาพที่ ๒ กรอบความร่วมมือของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (www.nesdb.go.th)