Page 19 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 19
๕
๓) การวิเคราะห์ข้อมูลกรณีร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาภาคใต้ที่มีต่อ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากเอกสารร้องเรียน รายงานการประชุม และรายงานการ
ตรวจสอบจากกรณีร้องเรียนในพื้นที่ศึกษา
ตารางที่ ๑ ข้อมูลและหน่วยงานในการวิจัยเอกสารของโครงการ
ข้อมูล หน่วยงาน
๑ พัฒนาการความเป็นมาแผนพัฒนาภาคใต้ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๒ แผนพัฒนาพลังงานในภาคใต้ สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน/กระทรวงพลังงาน
๓ แผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย/กรมธุรกิจพลังงาน/
อุตสาหกรรมในภาคใต้ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
๔ แผนพัฒนาโลจิสติกส์ในภาคใต้ กระทรวงคมนาคม/สํานักงานคณะกรรมการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๕ แผนพัฒนาแหล่งน้ําในภาคใต้ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๖ ผังภาคใต้ในผังประเทศไทย ๒๖๐๐ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
๒.๑.๒ การจัดสนทนากลุ่ม
การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ดําเนินการโดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม
ย่อย ประกอบด้วย ผู้ร้องเรียนจากกรณีต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัด และตัวแทนชาวบ้านจากหลากหลายอาชีพ
เช่น เกษตรกร ประมง ท่องเที่ยว ฯลฯ ทั้งนี้ประเด็นหลักในการสนทนากลุ่มย่อยจะเป็นการประเมิน
สถานการณ์สิทธิชุมชนกับผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต้ในแต่ละจังหวัด เพื่อจะนําไปสู่การ
วิเคราะห์ประเด็นสําคัญในการจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการในขั้นตอนต่อไป ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้
ดําเนินการจัดสนทนากลุ่มย่อยในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ ๑ ครั้ง รวมจํานวน ๔ กลุ่ม ดังนี้
๑) เวทีสนทนากลุ่มจังหวัดสตูล ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่พญาบังสา
โฮมสเตย์ อําเภอเมือง จังหวัดสตูล ผู้เข้าร่วมประชุมจํานวน ๓๖ คน
๒) เวทีสนทนากลุ่มจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๕ ที่
สมาคมรักษ์ทะเลไทย อําเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้เข้าร่วมประชุมจํานวน ๒๕ คน
๓) เวทีสนทนากลุ่มจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่
องค์การบริหารส่วนตําบลท่าศาลา อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้เข้าร่วมประชุมจํานวน ๓๐ คน