Page 164 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 164
๑๕๐
(๒) กรมโรงงานอุตสาหกรรม ควรมีการปรับปรุง
- กฎกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๑ ว่าด้วย ที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะอาคารและลักษณะ
ภายในของโรงงาน การห้ามตั้งโรงงานจําพวกที่ ๑ และโรงงานจําพวกที่ ๒ ในข้อ ๑ (๑) และห้ามตั้ง
โรงงานจําพวกที่ ๓ ข้อ ๒ (๑) นอกจากบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถว
เพื่อการพักอาศัย ควรมีการเพิ่มเติม “ชุมชน” เข้าไปในพื้นที่ห้ามตั้งโรงงานด้วย
- ระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชนในการพิจารณาออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
และใบอนุญาตขยายโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้คํานึงถึงสิทธิของชุมชนในการ
มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
๒) ข้อเสนอแนะต่อการดําเนินการเชิงรุก
๒.๑) การผลักดันให้เกิดการปรับปรุงระบบ กระบวนการ และกลไก ในการ
จัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้อนุวัตรตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ การปฏิรูป
ระบบดังกล่าวทั้งระบบต้องใช้ระยะเวลานาน จึงควรดําเนินการเชิงรุกต่อกรณีศึกษาในโครงการ
แผนพัฒนาภาคใต้ ดังนี้
- การจัดเวทีให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิชุมชนและระบบการ
จัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจัดเวทีให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ
ชุมชนและระบบการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการในภาคใต้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากการอนุมัติ หรืออยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทํารายงาน
- การประสานเครือข่ายนักวิชาการเพื่อปฏิรูประบบการจัดทํารายงานการ
ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยประสานเครือข่ายนักวิชาการเพื่อศึกษาระบบและกลไกในการจัดทํา
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยอาจจะเริ่มจากเครือข่ายนักวิชาการในภาคใต้ก่อน
- การทําให้เรื่องสิทธิชุมชนมีการสื่อสารต่อสาธารณะในวงกว้าง โดยใช้
เงื่อนไขการร้องเรียนเรื่องรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทําให้เรื่องสิทธิชุมชนมีการสื่อสาร
ต่อสาธารณะในวงกว้าง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการคุ้มครองและปกป้องสิทธิของชุมชน