Page 144 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 144
๑๓๐
จนกระทั่งในการประชุมหารือประจําปี ครั้งที่ ๔ ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับ
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ นายกรัฐมนตรีของทั้ง ๒ ประเทศ ได้แสดง
ความสนใจต่อโครงการก่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าว เนื่องจากจะช่วยอํานวยความสะดวก ส่งเสริมการค้า การ
ลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับมาเลเซีย อีกทั้งสนับสนุนการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค และเมื่อ
วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีจึงได้เห็นชอบในหลักการให้ศึกษาความเหมาะสมโครงการ
อุโมงค์เชื่อมทางหลวงระหว่างจังหวัดสตูล–เปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย งบประมาณ ๓๕ ล้านบาท โดย
มอบหมายให้จังหวัดสตูลร่วมกับกรมทางหลวง และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ พิจารณาความเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจสงขลา–สตูล ทั้งนี้ปัจจุบัน
โครงการอยู่ในระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยใช้งบประมาณของสํานักงานจังหวัดสตูล
และโครงการจะต้องมีการเจาะระเบิดภูเขาสันกาลาคีรีเป็นระยะทางประมาณ ๒-๔ กิโลเมตร
๖) โครงการอ่างเก็บน้ําคลองช้าง อําเภอควนกาหลง
โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําคลองช้างของกรมชลประทาน ตั้งอยู่ในบริเวณหมู่ที่ ๒
บ้านทุ่งนุ้ย ตําบลทุ่งนุ้ย อําเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล พื้นที่โครงการ ๑,๗๐๐ ไร่ สามารถกักเก็บน้ําได้
๓.๖ ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ําให้แก่พื้นที่พืชเกษตรกรรม และอุปโภคบริโภคให้แก่
อําเภอเมืองสตูล และอําเภอควนโดน รวมทั้งเป็นการแก้ปัญหาบรรเทาอุทกภัยในเขตอําเภอควนกาหลง
อีกด้วย ที่ผ่านมาโครงการได้รับอนุมัติงบการศึกษาออกแบบไปแล้ว ๑๘ ล้านบาท และอยู่ในระหว่างการ
จัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่ปรึกษา และโครงการได้ถูกชาวบ้านร่วมกัน
คัดค้าน เพราะจะทําให้ชาวบ้านสูญเสียพื้นที่ทํากินและต้องอพยพโยกย้ายออกจากชุมชน อีกทั้งชาวบ้าน
คาดว่าน้ําจากเขื่อนคลองช้างนี้จะสร้างขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตของจังหวัดสตูล
๕.๔.๓ ประเด็นการละเมิดสิทธิจากกรณีศึกษาจังหวัดสตูล
๑) สิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเองและสิทธิในการพัฒนา
โครงการพัฒนาท่าเรือน้ําลึกปากบารา จังหวัดสตูล เป็นโครงการท่าเรือพ่วงด้วย
การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถูกริเริ่มและผลักดันโดยภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการ
ดําเนินการและพัฒนาโครงการคือ กรมเจ้าท่า และภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสมของสะพาน
เศรษฐกิจพลังงานสงขลา-สตูล โดยการศึกษาในครั้งหลังสุดได้รับทุนสนับสนุนจากประเทศดูไบ ทั้งนี้
แนวคิดเรื่องสะพานเศรษฐกิจพลังงานได้มีมาตั้งแต่การทําการศึกษาจัดทําแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้
ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น แต่โครงการได้หยุดชะงักไปในช่วงที่ประเทศมีสภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ํา หลังจากที่การก่อตั้งกระทรวงพลังงานขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐบาลจึงได้รื้อฟื้น