Page 139 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 139
๑๒๕
หากพิจารณาจากข้อมูลการศึกษาของหน่วยงานรัฐดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดว่าการ
พัฒนาสะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูลนี้ เป็นการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมที่ควบคู่ไปกับการขนส่ง
สินค้าพลังงานทางท่อรวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักในพื้นที่ ทั้งปิโตรเคมี เหล็กกล้า โรงไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์พลาสติก และอื่น ๆ
๕.๔.๒ สถานการณ์ร้องเรียนและโครงการพัฒนาภาคใต้ในจังหวัดสตูล
๑) โครงการท่าเรือน้ําลึกปากบารา
เนื่องจากความต้องการในการขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีลงสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเล
ภาคใต้ อีกทั้งปัจจุบันนี้พื้นที่ในแผนการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก การให้บริการเริ่มหนาแน่นและไม่
เพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มทุนอุตสาหกรรม รัฐบาลจึงมีความต้องการและ
จําเป็นต้องขยายการพัฒนาการสร้างท่าเรือน้ําลึกไปพื้นที่ภาคใต้มากขึ้น ผลการศึกษาเปรียบเทียบการ
สร้างท่าเรือน้ําลึกในพื้นที่ต่าง ๆ ของคณะอนุกรรมการโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่มี
นายธนิต โสรัตน์ เป็นประธาน ได้ ข้อสรุปว่า ท่าเรือปากบาราฝั่งตะวันตกเป็นพื้นที่เหมาะสมที่สุด
เนื่องจากเป็นท่าเรือที่สามารถเชื่อมโยงเส้นถนนเป็น "แลนด์บริดจ์" กับท่าเรือจะนะ จังหวัดสงขลา ทาง
ฝั่งตะวันออกได้ โดยระยะทางเชื่อม ๒ ฝั่ง ประมาณ ๑๐๐ กว่ากิโลเมตรเท่านั้น และใกล้ศูนย์กลาง
ภาคใต้ ส่วนเส้นทางรถไฟโดยการศึกษาของ บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จํากัด บริษัทที่ปรึกษาที่ศึกษา
โครงการท่าเรือน้ําลึกในภาคใต้ ระบุว่า หากรัฐบาลเห็นสมควรให้มีการก่อสร้างท่าเรือปากบารา จะใช้
งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ ๒๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น ๓ ระยะ ระยะแรก
ใช้เงินลงทุน ๑๐,๖๐๐ ล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด ๒๐ ฟุต ได้ ๘.๒๕ แสนตู้ กําหนดการ
ก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๖ ส่วนระยะที่ ๒ กําหนดการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๓ ใช้เงิน
ลงทุน ๕,๑๐๐ ล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ ๑.๓ ล้านตู้ ส่วนในขณะที่ระยะที่ ๓ จะก่อสร้างในปี
พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๗ ใช้เงินลงทุน ๑๐,๓๐๐ ล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ ๒.๔ ล้านตู้
ท่าเทียบเรือน้ําลึกปากบาราและลานกองสินค้า เป็นพื้นที่ถมทะเล อยู่ใกล้แนวน้ํา
ลึก ๔.๒ กิโลเมตร โดยแบ่งการพัฒนาพื้นที่โครงการออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
- การพัฒนาระยะที่ ๑ พื้นที่ท่าเทียบเรือจะตั้งอยู่บนพื้นที่ถมทะเลซึ่งมีขนาด
๔๓๐ x ๑,๐๘๖ เมตร รวมเนื้อที่ประมาณ ๒๙๒ ไร่ มีขนาดความยาวหน้าท่า ๗๕๐ เมตร และเชื่อมต่อ
กับพื้นที่บนฝั่งด้วยสะพานคอนกรีต ๔ ช่องจราจร และทางรถไฟเป็นเส้นทางขนส่งความยาวประมาณ
๔.๕ กิโลเมตร จากฝั่งด้านนอกของท่าเทียบเรือจะมีการสร้างเขื่อนหินทิ้งเพื่อกันคลื่น ยาว ๑,๗๐๐ เมตร
และขุดร่องน้ําเดินเรือกว้าง ๑๘๐ เมตร ยาว ๑๐ กิโลเมตร ด้วยความลึก ๑๔ เมตร พื้นที่ด้านหน้าเป็น
ท่าเทียบเรือสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ด้านข้างเป็นท่าเทียบเรือบริการ และด้านหลังเป็นลานกองตู้สินค้า