Page 141 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 141
๑๒๗
๓) โครงการทางรถไฟเชื่อมการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ซึ่ง
เป็นผู้รับผิดชอบการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมการขนส่งสินค้าระหว่าง
ท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน (รถไฟรางคู่) ตามนโยบายของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาท่าเรือน้ําลึก
บ้านปากบารา จังหวัดสตูล และพัฒนาศักยภาพท่าเรือน้ําลึกจะนะ ตําบลนาทับ จังหวัดสงขลา และ
ร่วมกันทําหน้าที่เป็นสะพานเศรษฐกิจ สร้างทางเลือกใหม่ในการขนส่งผ่านประเทศไทยแทนการเดินเรือ
ผ่านช่องแคบมะละกา โดยสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา
อันประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จํากัด บริษัท เอ็นริช คอนซันแตนท์ จํากัด
บริษัท พีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด บริษัท โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จํากัด และบริษัท พีทีแอล
คอนซัลแทนส์ จํากัด ให้ดําเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น ระยะเวลา ๑๒ เดือน
ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒-กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และจ้าง บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์
จํากัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน
โดยที่คณะที่ปรึกษาได้เสนอแนวเส้นทางการก่อสร้างทางรถไฟสาย แนวเส้นทางที่ ๒A จากทั้งหมดที่มี
การนําเสนอ ๔ แนวเส้นทาง โดยให้เหตุผลว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดทั้งทางวิศวกรรม เศรษฐกิจ
สังคมและด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความเหมาะสมในหลายปัจจัย เช่น ลักษณะรูปแบบของแนวเส้นทาง
รถไฟ การก่อสร้าง ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ การขนส่ง การเดินรถและระยะเวลา คุณภาพการ
ให้บริการ ค่าก่อสร้าง ค่าเวนคืนที่ดิน การพัฒนาพื้นที่ย่านชุมชน และเป็นแนวทางเลือกที่มีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
แนวเส้นทางที่ ๒A (รูปภาพที่ ๑๘) นี้ จะต้องมีการตัดผ่านพื้นที่ตําบลต่าง ๆ จาก
ท่าเรือน้ําลึกปากบาราไปยังท่าเรือสงขลาแห่งที่ ๒ ได้แก่ ตําบลปากน้ําและตําบลละงู อําเภอละงู ตําบล
แประ อําเภอท่าแพ ตําบลควนกาหลง และตําบลทุ่งนุ้ย อําเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ตําบลเขาพระ
ตําบลท่าชะมวง และตําบลกําแพงเพชร อําเภอรัตภูมิ ตําบลฉลุงทุ่งตําเสา ตําบลบ้านพรุ ตําบลคอหงส์
และตําบลทุ่งใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ ตําบลพิจิตร อําเภอนาหม่อม ตําบลจะโหนง ตําบลตลิ่งชัน และ
ตําบลนาทับ อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทั้งหมดเป็นเขตแนวใหม่ตลอดสายตัดผ่านทางรถไฟสาย
หาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ บริเวณตําบลบ้านพรุ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตัดผ่านเส้นทางรถไฟ
สายหาดใหญ่–สุไหงโกลก บริเวณตําบลคอหงส์ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ไปยังท่าเทียบเรือน้ําลึก
สงขลาแห่งที่ ๒ รวมระยะทาง ๑๔๒ กิโลเมตร ซึ่งเบื้องต้นได้นําเสนอรูปแบบการลงทุนระหว่างรัฐกับ
เอกชนหรือบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย
แนวเส้นทางที่เลือกนี้ ประกอบด้วย แนวเขตทางกว้าง ๔๐ เมตร มีสถานีรับส่ง
ผู้โดยสาร ๒ แห่ง คือ สถานีละงู และสถานีควนกาหลง อําเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล โดยแนวเขตทาง