Page 143 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 143

๑๒๙







                                ๔)  โครงการท่อพลังงาน

                             ปี ๒๕๕๑ กระทรวงพลังงานได้ศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการท่อส่งน้ํามันดิบและ

                  สิ่งอํานวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของสะพาน
                  เศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล  ผลการศึกษาพบว่า แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างสงขลา–สตูล ที่

                  เหมาะสมกับการวางท่อส่งน้ํามัน จะเริ่มจากทุ่นขนถ่ายน้ํามันกลางทะเลฝั่งอันดามัน ห่างจากชายฝั่ง

                  อําเภอละงู ประมาณ ๓๗ กิโลเมตร ที่ระดับร่องน้ําลึก ๒๕ เมตร ขนถ่ายน้ํามันจากเรือบรรทุกน้ํามัน
                  ขนาด ๓๐๐,๐๐๐ ตัน และจะมีการก่อสร้างคลังเก็บน้ํามันที่บริเวณบ้านปากบาง อําเภอละงู จังหวัดสตูล

                  โดยออกแบบเป็นคลังขนาดกลาง ใช้พื้นที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ ส่วนฝั่งอ่าวไทยจะมีการวางทุ่นขนถ่าย

                  น้ํามันกลางทะเลห่างฝั่งออกไปในระยะพอๆ กับด้านฝั่งทะเลอันดามัน แต่การก่อสร้างคลังเก็บน้ํามัน
                  ออกแบบให้มีขนาดใหญ่กว่า โดยจะใช้พื้นที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ไร่ ตรงบริเวณติดกับบ้านวัดขนุน อําเภอ

                  สิงหนคร จังหวัดสงขลา

                             ปัจจุบันกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อทบทวนแนวท่อพลังงาน

                  (Energy Bridge) ระหว่างฝั่งอันดามันและอ่าวไทย


                                ๕)  อุโมงค์เชื่อมทางหลวงสตูล–เปอร์ลิส

                             เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ กระทรวงมหาดไทยได้มีการนําเสนอโครงการก่อสร้างถนน

                  สตูล–เปอร์ลิส โดให้กรมทางหลวงไปศึกษารายละเอียดความเหมาะสมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อ
                  ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ โครงการถนนสตูล–เปอร์ลิส ได้ถูกบรรจุเข้าในโครงการความร่วมมือเศรษฐกิจ ๓ ฝ่าย

                  อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ในที่ประชุม IMT–GT ที่อําเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙

                  กรมทางหลวงจึงได้ว่าจ้าง บริษัท เทสโก้ จํากัด เป็นผู้ทําการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้
                  ของโครงแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และได้เลือกเส้นทางผ่านตําบลปูยู ระยะทางประมาณ

                  ๓๕ กิโลเมตร แต่เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวจะผ่าพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดผลกระทบ

                  ต่อสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ประเทศไทยจึงเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางไปพัฒนามาเป็นสาย
                  สตูล–วังประจัน–วังเกลียน–เปอร์ลิส แทน ในขณะที่มาเลเซียยังต้องการให้สร้างถนนในแนวเดิม จึงทํา

                  ให้ไม่สามารถตกลงกันได้

                             จนปี พ.ศ. ๒๕๕๒ รัฐบาลไทยได้อนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างทางเลี่ยงเมือง

                  ถนนหมายเลข ๔๑๔๘ ควนสะตอ–วังประจัน ขนาด ๒ ช่องจราจร วงเงินงบประมาณ ๒๔๐ ล้านบาท

                  และเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จังหวัดสตูลได้นําเสนอโครงการเจาะอุโมงค์สตูล–เปอร์ลิส ต่อ
                  มุขมนตรีประเทศมาเลเซีย โดยเสนอเส้นทางการเจาะผ่านภูเขาสันกาลาคีรีที่เชื่อมระหว่างไทย–มาเลเซีย

                  เป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร ทั้งนี้หอการค้าจังหวัดสตูลก็ได้ออกมาสนับสนุนและช่วยผลักดันโครงการ
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148