Page 140 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 140
๑๒๖
และรางรถไฟ โดยแบ่งการพัฒนาโครงการเป็น ๒ ส่วน คือ (๑) ส่วนที่ ๑ ประกอบด้วย การก่อสร้าง
ท่าเทียบเรือสินค้าคอนเทนเนอร์ ๒ ท่า ความยาวหน้าท่า ๗๕๐ เมตร และท่าเทียบเรือบริการ ความยาว
๒๑๒ เมตร ลานกองสินค้าตู้ ขนาดกว้าง ๒๘๐ เมตร ยาว ๓๕๐ เมตร อาคารต่าง ๆ รวม ๒๖ อาคาร
ถนนภายในท่าเทียบเรือ และลานจอดรถบรรทุกสินค้า ระบบสาธารณูปโภค สะพาน และถนนเข้าสู่
ท่าเทียบเรือ การขุดลอกร่องน้ํา แอ่งกลับเรือและที่จอดเรือบริเวณหน้าท่า ทางรถไฟเข้าท่าเทียบเรือ
และลานขนส่งตู้สินค้าจากรถไฟ (๒) สําหรับส่วนที่ ๒ เป็นลานกองเก็บตู้สินค้าพื้นที่ กว้าง ๒๘๐ เมตร
ยาว ๓๕ เมตร และระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติม
- การพัฒนาระยะที่ ๒ จะเกิดขึ้นหลังจากท่าเรือระยะที่ ๑ เปิดใช้งานไปแล้ว ๖ ปี
ต้องก่อสร้างเพิ่มด้วยการถมทะเลส่วนปลายด้านที่อยู่ใกล้ชายฝั่งเพิ่ม ๒๔๐ ไร่ เป็นรูปตัว L เพื่อทําเป็น
ท่าเทียบเรือความยาวหน้าท่า ๕๐๐ เมตร พร้อมลานกองตู้สินค้าและอาคารประกอบ
- การพัฒนาระยะที่ ๓ ทําต่อจากการพัฒนาระยะที่ ๒ โดยก่อสร้างท่าเทียบเรือ
ด้านทิศตะวันออกของท่าเรือเดิมหลังเปิดใช้งานแล้ว ๑๒ ปี โดยให้มีความยาวหน้าท่า ๑,๐๐๐ เมตร
และจะมีการถมทะเลเพิ่มเติมอีก ๔๕๐ ไร่ รวมทั้งมีการขยายร่องน้ําและแอ่งกลับลําเรือจาก ๑๘๐ เมตร
เป็น ๓๐๐ เมตร และความลึกร่องน้ําเป็น ๑๕ เมตร
ทั้งนี้การจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการไม่ได้มีการ
จัดทําหมดทั้ง ๓ ระยะ ที่มีการถมทะเลรวมกว่า ๙๘๒ ไร่ แต่เป็นการจัดทําเฉพาะการพัฒนาโครงการใน
ระยะที่ ๑ ที่มีการถมทะเลเพียงพื้นที่ ๒๙๒ ไร่ เท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีการประเมินผลกระทบต่อกิจกรรม
ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมโยงกับการพัฒนาท่าเรือน้ําลึกปากบารา เช่น แหล่งหินและทรายที่จะนํามาใช้ในการ
ถมทะเล เป็นต้น
ปัจจุบันโครงการท่าเรือน้ําลึกปากบารา ยังอยู่ในระหว่างการจัดทํารายงานการ
ประเมินผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการองค์กรอิสระด้าน
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ความเห็นประกอบการพิจารณา และอีกทั้งต้องนําเสนอต่อคณะกรรมการ
อุทยานแห่งชาติเพื่อทําการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเภตราจํานวน ๔,๗๓๔ ไร่
๒) โครงการนิคมอุตสาหกรรมละงู ๑๕๐,๐๐๐ ไร่
จากการลงสํารวจแนวเขตพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมละงู
๑๕๐,๐๐๐ ไร่ พบว่าพื้นที่ดังกล่าวน่าจะตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของถนนสายปะเหลียน–สตูล ครอบคลุม
อาณาบริเวณ ๔ อําเภอ คือ อําเภอละงู เกือบเต็มพื้นที่ยกเว้นบ้านวังสายทอง ตําบลน้ําผุด ตําบลปาล์ม
พัฒนา อําเภอมะนังบางส่วน ตําบลอุไดเจริญ อําเภอควนกาหลงบางส่วน และบ้านสวนเทศ อําเภอท่าแพ
ปัจจุบันโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นการเป็นกรอบแนวคิดในรายงานการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนา
อุตสาหกรรมจากการพัฒนาท่าเรือน้ําลึกปากบารา