Page 142 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 142
๑๒๘
บริเวณย่านสถานีจะมีความกว้าง ๘๐ เมตร ในเบื้องต้นกําหนดให้มีศูนย์ซ่อมบํารุง (Depot) ๒ แห่ง คือ
ศูนย์ซ่อมบํารุงควนกาหลง และศูนย์ซ่อมบํารุงบ้านคลองทิง อําเภอจะนะ และสถานีบรรจุและแยกสินค้า
(Inland Container Depot, ICD) ๑ แห่ง บริเวณบ้านนายสี อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งจะทํา
การพิจารณาความเหมาะสมในขั้นต่อไป และได้จัดแบ่งการพัฒนาระบบรถไฟเพื่อสะพานเศรษฐกิจ
สงขลา-สตูล ออกเป็น ๔ ระยะ คือ
- ระยะที่ ๑ ก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกปากบารา และระบบรถไฟเพื่อการส่งออกและ
นําเข้า โดยพัฒนาเป็นระบบรถไฟรางเดี่ยวแบบ Meter Gauge เพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่ายเส้นทางรถไฟ
ของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณตําบลบ้านพรุ อําเภอหาดใหญ่
- ระยะที่ ๒ ขยายทางรถไฟจากระยะที่ ๑ ไปเชื่อมต่อกับท่าเรือสงขลาแห่งที่ ๒
- ระยะที่ ๓ ขยายขีดความสามารถของระยะที่ ๑ โดยก่อสร้างเพิ่มเติมเป็น
รถไฟรางคู่ ระบบ Meter Gauge ตลอดแนว
- ระยะที่ ๔ อาจจะมีการก่อสร้างแบบ Meter Gauge หรือ Standard เป็น
เส้นทางอิสระ โดยไม่เชื่อมโยงกับโครงข่ายเส้นทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพสูงสุด ในการเป็นสะพานเศรษฐกิจ
รูปภาพที่ ๑๘ โครงการทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรืออันดามันและอ่าวไทย
ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร