Page 134 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 134

๑๒๐







                                ๒)  สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ

                             การดําเนินการโครงการพัฒนาภาคใต้ในจังหวัดสงขลา ทั้งโครงการท่อส่งก๊าซและ

                  โรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าสงขลา (จะนะ) ๑ โครงการท่าเรือน้ําลึกสงขลา ๑ โครงการ
                  แท่นขุดเจาะน้ํามัน ล้วนแล้วส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการประกอบอาชีพต่าง ๆ ของชาวบ้าน ทั้ง

                  ชาวประมงพื้นบ้าน ชาวนา ชาวสวนยางพารา และเกษตรกร เช่น การก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกสงขลา ๑ ได้

                  ส่งผลกระทบต่ออาชีพชาวประมงพื้นบ้านโดยเฉพาะสัตว์น้ําตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบสงขลา
                  ได้ลดลงและหายไป รวมทั้งการปล่อยน้ําอับเฉาและน้ํามันรั่วไหลออกมาจากเรือที่สัญจรไปมาในท่าเรือ

                  น้ําลึกสงขลา ๑ ส่งผลให้ปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงในกระชังตาย มลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าจะนะ ได้แก่

                  น้ําหล่อเย็นที่ปล่อยลงสู่คลองนาทับก็มีผลกระทบต่อชาวบ้านที่ประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาในกระชัง
                  มลพิษทางอากาศทําให้เกิดบริเวณที่มีอากาศร้อนจัด ทําให้ผลผลิตของยางพาราของชาวบ้านที่มีสวนใกล้

                  กับโรงไฟฟ้าลดลง และอาชีพดั้งเดิมที่พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติ ในการเก็บใบจากในพื้นที่ป่าชายเลน

                  บริเวณคลองนาทับมาขายก็หายไป ส่วนการเปิดปิดการเดินเครื่องจักรของโรงแยกก๊าซก่อให้เกิดเสียงดัง
                  และส่งผลกระทบต่อการทําฟาร์มไก่ในพื้นที่ ทําให้ไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงมีอัตราการตายเพิ่มขึ้น จนในที่สุด

                  บริษัทต้องยกเลิกการนําไก่มาให้ชาวบ้านเลี้ยงเพราะขาดทุน

                                ๓)  สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี


                             มลพิษทางอากาศทั้งจากโรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าจะนะ ได้ส่งผลให้เด็กกับผู้ใหญ่

                  ป่วยตลอดทั้งปี ด้วยอาการ หอบหืด ไอ เป็นหวัด และจากการตรวจสารมลพิษทางอากาศของ
                  โรงพยาบาลจะนะ พบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีการปนเปื้อนของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่เป็นสารก่อ

                  มะเร็ง นอกจากนี้กลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นก็ยังก่อให้เกิดความรําคาญ การระเบิดภูเขาทําให้เกิดมลพิษทาง

                  เสียงและบ้านของชาวบ้านแตกร้าว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการละเมิดสิทธิการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีของ
                  ชุมชนที่อยู่รอบบริเวณโครงการ


                                ๔)  สิทธิชุมชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

                             การให้ข้อมูลของโครงการที่ไม่ตรงไปตรงมากับชาวบ้าน โดยเฉพาะวัตถุประสงค์

                  ของโครงการระบบระบายน้ําปลักปลิงที่ระบุไว้ว่าเพื่อป้องกันน้ําท่วม แต่ชาวบ้านก็ไม่มั่นใจว่าโครงการ
                  จะสร้างขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ําท่วม เพื่อช่วยระบายน้ําลงทะเลเร็วขึ้นหรือระบายน้ําเพื่อการเกษตร

                  หรือว่าที่จริงเอาน้ําไปใช้เพื่อโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเท็จ เช่น จะรับ

                  ลูกหลานชาวบ้านเข้าทํางาน ชาวบ้านจะได้ใช้ก๊าซและไฟฟ้าราคาถูก โครงการจะมีการก่อสร้างเฉพาะ
                  โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไม่มีโรงงานหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นในพื้นที่ ฯลฯ รวมทั้งที่ผ่านมาการ

                  ดําเนินการโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซีย หน่วยงานรัฐก็บอกชาวบ้านว่าจะไม่มี
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139