Page 136 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 136

๑๒๒







                  อาจจะเสียหายถึงหมดอาชีพไปเลย การกําหนดแบบนี้มีกลไกในการทํางาน และกลไกในการแบ่งปัน
                  ผลประโยชน์ตั้งแต่ส่วนกลางกรุงเทพลงมาถึงสงขลา จึงควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้เห็นถึงกลุ่ม

                  ผลประโยชน์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันแผนและโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้

                         ๓)  จัดทําประเด็นร่วมเรื่องอาหาร  ที่ดิน ประมง และหยุดอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเรื่องพื้นที่

                  แหล่งผลิตอาหารที่อ่าวจะนะ หาดสวนกง ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารให้กับชาวสงขลา และรวมตัวกันเป็น

                  เครือข่ายรักษ์สงขลา เพื่อนําปัญหาทั้งหมดไปนําเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

                         ๔)  การมีส่วนร่วมในการจัดทําและกําหนดทิศทางการพัฒนาและแผนพัฒนาของชุมชน

                  ตนเองจังหวัดสงขลา ชาวบ้านไม่ต้องการให้สงขลาพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนักเหมือนมาบตาพุด
                  จึงต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการทําและกําหนดทิศทางแผนของจังหวัดให้เป็นแหล่งผลิตอาหารของ

                  ประเทศและโลก เป็นเมืองการศึกษาและวัฒนธรรม เมืองที่มีผังเมืองชัดเจน รวมทั้งจังหวัดหรือรัฐต้อง

                  สนับสนุนทุนวิจัยให้ชุมชน ปัจจุบันการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา ทั้งระยะ ๔ ปี ๑๐ ปี และ ๒๐ ปี
                  ได้มีการดําเนินการไปเกือบเสร็จสิ้นแล้ว โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมเลย ซึ่งน่าจะมีผลกระทบต่อ

                  ชาวบ้าน ในกรณีนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรจะเป็นตัวแทนชาวบ้านในการฟ้องร้องให้

                  หยุดแผนพัฒนาไว้ก่อน  และควรสร้างกลไกให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมาร่วมกันในการติดตามทั้งใน
                  ระดับจังหวัดและระดับชาติ




                  ๕.๔  กรณีศึกษาจากกรณีร้องเรียนจังหวัดสตูล


                         ๕.๔.๑  สตูล ประตูเมืองอุตสาหกรรมและสะพานเศรษฐกิจพลังงาน

                                จังหวัดสตูลเดิมไม่ได้เป็นพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาที่ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนา

                  ชายฝั่งทะเลภาคใต้ แต่ภายหลังจากที่มีเหตุการณ์สึนามิใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ทําให้มีการทบทวนเส้นทาง

                  ยุทธศาสตร์พลังงานระหว่างอันดามันและอ่าวไทย หลังจากนั้นเป็นต้นมาแนวสะพานเศรษฐกิจหรือ
                  แลนด์บริดจ์ สตูล–สงขลา จึงได้รับการผลักดันเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงานใหม่ โดยโครงการ

                  ประกอบด้วยท่าเรือน้ําลึกสองฝั่งทะเล รวมถึงระบบขนส่งและโครงข่ายคมนาคมที่จะเชื่อมต่อระหว่างกัน

                  ในรายงานโครงการสํารวจออกแบบเพื่อการก่อสร้างท่าเรือปากบารา โดย บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์
                  จํากัด ร่วมกับ ทีม คอนซัลติ้งเอนจิเนียริ่ง จํากัด และ บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแตนท์ จํากัด ภายใต้การ

                  จัดจ้างของกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชย์นาวี (กรมเจ้าท่า ในปัจจุบัน) รายงานได้จัดทําแล้วเสร็จในปี

                  พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูล โดยที่รัฐบาลจะต้อง
                  สร้างระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งเชื่อมระหว่างท่าเรือน้ําลึกปากบารากับท่าเรือสงขลา ดังนี้
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141