Page 130 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 130

๑๑๖







                  ระบายน้ําทิ้งตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทําให้ปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ตาย นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ดินชายฝั่งถล่ม
                  เพราะกรมเจ้าท่ามีการขุดลอกร่องน้ําทุกปี ทําให้ที่ดินริมฝั่งของชาวบ้านถล่มลงไป รวมทั้งอุบัติเหตุและ

                  ฝุ่นละอองมากขึ้น เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์จะจอดล้นจากท่าเรือออกมาถึงพื้นที่ชุมชนภายนอก นักเรียน

                  จึงต้องเดินอ้อมตู้คอนเทนเนอร์ไปโรงเรียน และการวิ่งเข้าออกของรถขนส่งสินค้าก็ทําให้เกิดฝุ่นละออง
                  มากขึ้น ที่ผ่านมาชาวบ้านได้รวมตัวกันยื่นหนังสือร้องเรียนไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และรวมตัวกันเพื่อ

                  แก้ไขปัญหาทะเลสาบ รวมทั้งจัดตั้งกองทุนในการฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย

                                ๔)  โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกสงขลาแห่งที่ ๒


                             โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อ
                  ก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ได้คัดเลือกพื้นที่เหมาะสมสําหรับการจัดทําโครงการ

                  ท่าเรือน้ําลึกสงขลา ๒ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๗ บ้านนาเสมียน และหมู่ที่ ๑๑ บ้านสวนกง ตําบลนาทับ

                  อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พื้นที่โครงการเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ติดกับชายทะเล ชื่อว่า ปลักจาก
                  โดยจะขอใช้พื้นที่ประมาณ ๖๗๕ ไร่ ด้านที่ติดทะเลยาวประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร ลึก ๙๐๐ เมตร


                             ลักษณะโครงการเป็นท่าเรือน้ําลึก ประกอบด้วยเขื่อนกันคลื่น ๑๕ ตัว ตั้งอยู่

                  บริเวณบ้านสวนกงซึ่งเป็นชายหาดที่ยังคงสภาพและความสมบูรณ์มากที่สุดของจังหวัดสงขลา
                  อนุกรรมการสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีการจัดประชุมเชิญหน่วยงานมาชี้แจง

                  และชาวบ้านก็ได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้กรมเจ้าท่าได้ชี้แจงชัดเจนว่าต้องการที่จะสร้างท่าเรือน้ําลึก

                  สงขลาแห่งที่ ๒ เพราะท่าเรือน้ําลึกสงขลา ๑ ไม่สามารถที่จะขยายได้เพิ่มขึ้นแล้วตามมติคณะรัฐมนตรี
                  ส่วนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งชี้แจงว่าระบบนิเวศและทรัพยากรบริเวณสวนกงไม่มีอะไร ซึ่ง

                  ขัดแย้งกับข้อมูลของชาวบ้านที่บอกว่ามี ปลาโลมา มีเต่า มีกุ้ง ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคิดว่า

                  โครงการจะไม่เกิดขึ้น แต่ทางองค์การบริหารส่วนตําบลมีท่าทีในการสนับสนุนโครงการชัดเจน และ
                  พยายามปกปิดข้อมูล ปัจจุบันชาวบ้านในพื้นที่บ้านสวนกงนั้นอยู่ระหว่างการศึกษาจัดทําข้อมูลความ

                  อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งทะเลสวนกง

                             สถานภาพปัจจุบันของโครงการ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ กรมเจ้าท่าได้

                  นําส่งรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สิ่งแวดล้อม เพื่อให้คณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณา แต่คณะกรรมการได้มีมติไม่เห็นชอบต่อรายงาน
                  เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เนื่องจากการพิจารณากฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่า

                  โครงการเข้าข่ายตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดประเภท

                  ขนาด และวิธีปฏิบัติสําหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนรุนแรง ทั้งทางด้าน
                  คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนต้องจัดทํา

                  รายงานผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่ากรมเจ้าท่าจะได้ยื่นรายงานก่อนที่ประกาศฉบับนี้จะ
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135