Page 125 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 125
๑๑๑
ระยะที่ ๒ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยว่าจ้างให้บริษัท โซซิโอ–เอคโคโนมิค คอนซัลแตนส์ จํากัด เป็น
บริษัทที่ปรึกษา ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอให้พื้นที่ชายแดนไทยและมาเลเซีย บริเวณบ้านทับโกบ ตําบล
สํานักขาม อําเภอสะเดา ที่ตั้งอยู่ใกล้แนวทางด่วนพิเศษหาดใหญ่-สะเดา เนื้อที่ ๙๙๐ ไร่ เป็นพื้นที่ที่มี
ความเหมาะสมที่สุด
ผลการศึกษาได้นําเสนออุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะประกอบด้วยพื้นที่
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป อุตสาหกรรมต้นน้ํา
ของอุตสาหกรรมยานยนต์ สถานศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน สถานีขนส่งสินค้า คลังสินค้า หรือ
Inland Container Depot (ICD) ธุรกิจการให้บริการทางการเงิน และอุตสาหกรรมอาหารและบริการ
อาหารฮาลาล สําหรับรูปแบบการจัดทําเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดา จะใช้รูปแบบเดียวกับเขต
เศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก–เมืองเมียวดี ประเทศพม่า ซึ่งผู้ลงทุนได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น
การอนุญาตให้คนต่างด้าวถือครองที่ดินโดยได้รับยกเว้นภาษีต่าง ๆ และอาจมีการออกกฎหมายเฉพาะ
เหมือนกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในต่างประเทศ ฯลฯ ที่สําคัญ ส่วนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
ฝั่งเมืองบูกิตกายูฮิตัมทางมาเลเซียได้กําหนดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหลักทางด้านยานยนต์และชิ้นส่วน
ยานยนต์
๕.๓.๒ สถานการณ์กรณีร้องเรียนและโครงการพัฒนาภาคใต้ในจังหวัดสงขลา
จากแนวทางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อการพัฒนาจังหวัด
สงขลาดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีหน่วยงานของรัฐเร่งพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อรองรับการเป็นเมือง
ศูนย์กลางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและขนส่งพลังงานในอนาคต ทั้งโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
โรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ําลึก อ่างเก็บน้ํา ปรากฏเป็นกรณีร้องเรียนต่าง ๆ ของจังหวัดสงขลา ดังนี้
๑) โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซีย
โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย เป็นโครงการร่วมทุน
ระหว่างประเทศ โดยเป็นการนําก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ทับซ้อนร่วมกันของไทยและมาเลเซีย ประมาณ
๗,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร ขึ้นมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในแปลง A ๑๘ และ
B ๑๗ พร้อมนี้ทั้ง ๒ ฝ่ายยังก่อตั้งบริษัทร่วมทุนทรานส์ไทย-มาเลเซีย (TTM) เพื่อบริหารจัดการซื้อขาย
ก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อของ TTM ทั้งนี้การผลิตก๊าซในแหล่งพื้นที่ทับซ้อนร่วมกันของประเทศไทย
และประเทศมาเลเซียนั้น จะแบ่งการผลิตออกเป็น ๒ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ แหล่ง A ๑๘ มีพื้นที่ประมาณ ๒,๙๕๐ ตารางกิโลเมตร โดยจะผลิตก๊าซ
ธรรมชาติปริมาณ ๓๙๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งขึ้นบกที่โรงแยกก๊าซไทย-มาเลเชีย ในประเทศไทย