Page 132 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 132

๑๑๘







                  ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายตําบลจากอําเภอนาทวีลงมาจนถึงอําเภอจะนะ รวมทั้งจะ
                  มีการขุดคลองใหม่เพิ่มเติมอีกสามสาย มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันน้ําท่วมอําเภอจะนะและอําเภอนาทวี

                  โดยให้น้ํามีการระบายไหลลงทะเลเร็วขึ้น ชาวบ้านในพื้นที่อําเภอจะนะได้ร่วมกันการคัดค้านโครงการ

                  เพราะตั้งข้อสังเกตว่าโครงการต้องการส่งน้ําจากอ่างเก็บน้ํานาปรังมาใช้ในโรงไฟฟ้าและนิคม
                  อุตสาหกรรมในพื้นที่อําเภอจะนะ


                             ปัจจุบันโครงการระบบระบายน้ําจากปลักปลิง บางส่วนก็สร้างแล้ว บางส่วนก็ยัง
                  ไม่ได้สร้าง ชาวบ้านเคยสอบถามเจ้าหน้าที่โครงการที่ลงมาในพื้นที่ก็ไม่ได้รับการชี้แจงข้อมูลที่ชัดเจน

                  นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานก็ได้มาขอลายเซ็นยินยอมจากชาวบ้าน และได้บอกชาวบ้านว่า

                  เป็นโครงการพระราชดําริ ชาวบ้านบางส่วนก็เลยยินยอม ส่วนชาวบ้านบางส่วนก็ไม่เชื่อ และไปสอบถาม
                  กับหน่วยงานจึงรู้ว่าโครงการดังกล่าวไม่ใช่โครงการพระราชดําริ รวมทั้งไม่มั่นใจว่าเป็นโครงการจะแก้ไข

                  ปัญหาน้ําท่วมได้จริงหรือว่าจะสร้างปัญหา ทําให้ชาวบ้านบางส่วนก็ไม่ได้เซ็นยินยอม

                             สําหรับการขุดร่องเพื่อขยายคลอง คือ คลองสะกอมที่ผ่านบ้านหวัน และล่าสุด

                  กรมทางหลวงจะยกระดับสะพานคลองบ้านหวัน เพราะเมื่อน้ําท่วมใหญ่เมื่อธันวาคม ๒๕๕๓ น้ําจาก

                  อําเภอนาทวีและอําเภอจะนะจะไหลลงมามาท่วมสะพานบ้านหวัน รถที่ผ่านอําเภอจะนะไปจังหวัด
                  ปัตตานีต้องอ้อมไปทางตําบลตลิ่งชัน ซึ่งกรมทางหลวงจะใช้งบประมาณยกระดับสะพานบ้านหวันและ

                  ถมถนนให้สูงจากระดับเดิมอีก ๑.๖๐-๒.๐ เมตร ทําให้ต้องถมดินเป็นระยะเกือบ ๒ กิโลเมตร ซึ่ง

                  ชาวบ้านไม่ค่อยเห็นกับการถมดินถนน เพราะจะทําให้ถนนกลายเป็นสิ่งขวางกั้นทางน้ํา และทําให้น้ํา
                  กักขังท่วมพื้นที่ชาวบ้าน ชาวบ้านได้รวมตัวกันล่องเรือ ๖-๗ ลํา เพื่อสํารวจคลองที่ได้มีการขุดลอกคลอง

                  และดาดคอนกรีตแล้ว พบว่าสองข้างคลองที่เป็นป่าจากและต้นไม้ถูกทําลาย


                                ๖)  โครงการอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น

                             จากการศึกษาความเป็นไปได้ของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เมื่อ

                  ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พื้นที่อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ถูกกําหนดให้เป็นหนึ่งในสองพื้นที่ทางเลือกของ
                  โครงการที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น ระยะที่ ๑  ของประเทศไทย ซึ่งมีแผนที่จะมีการจัดตั้ง

                  นิคมอุตสาหกรรมขนาดพื้นที่ประมาณ ๘,๐๐๐ ไร่ รวมทั้งจัดเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                  และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเหล็ก ได้แก่ โรงไฟฟ้ากําลังผลิต ๓๐๐ เมกะวัตต์
                  ท่าเรือน้ําลึก น้ําจืดปริมาณประมาณ ๔๒ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สําหรับทางเลือกในพื้นที่อําเภอระโนด

                  จังหวัดสงขลา ได้มีการเสนอให้มีการติดตั้งสถานีสูบน้ําจากทะเลสาบสงขลาส่งผ่านท่อยาว ๑๘ กิโลเมตร

                  ไปยังพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม นอกจากนี้ในปี ๒๕๕๓ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีความพยายามในการ
                  ผลักดันโครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ําที่ อําเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่รองรับ

                  ๕,๐๐๐ ไร่ ปริมาณน้ําเพียงพอ ต้นทุนพัฒนาท่าเรือน้ําลึกอยู่ในระดับเหมาะสม ปัจจุบันการพัฒนา
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137