Page 128 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 128
๑๑๔
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อให้กระทรวงพลังงาน
นําเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
โรงไฟฟ้าสงขลา ๑ ได้เริ่มดําเนินการทดสอบเดินเครื่องกําเนิดไฟฟ้าด้วยก๊าซตั้งแต่
กลางปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ในปริมาณรับก๊าซวันละ ๑๑๐-๑๒๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หลังจากนั้นในช่วง
เดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ โรงไฟฟ้าจึงได้ดําเนินการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ส่งเข้า
ระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ใช้ก๊าซธรรมชาติเต็มที่วันละ ๑๕๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
สําหรับโครงการโรงไฟฟ้าชุดที่ ๒ มีกําลังการผลิต ๗๓๐ เมะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดําเนินการ
ก่อสร้าง โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ และมี
กําหนดการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เมื่อรวมกําลังผลิตของโรงไฟฟ้า
สงขลา ๑ และ ๒ ทําให้พื้นที่อําเภอจะนะเป็นพื้นที่ผลิตไฟฟ้าใหญ่ที่สุดของภาคใต้ มีกําลังการผลิตรวม
๑,๔๖๐ เมกะวัตต์
จากเวทีสนทนากลุ่มกับชาวบ้าน สรุปผลกระทบสําคัญจากโรงฟ้าสงขลา ๑ คือ
- การถมลําคลองสาธารณะ โดยทําการก่อสร้างอาคารติดตั้งตะแกรงดักขยะ
เพื่อดูดน้ําจากคลองสาธารณะเข้าสู่ระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าสงขลา โดยได้ดําเนินการปักหมุดไม้ยาว
กว่า ๒ เมตรจํานวนมากลงไปในคลอง จากนั้นก็มีการวางกระสอบทรายกั้นและถมดินลูกรังจํานวนมาก
ลงไปในคลองบ้านป่างาม เพราะคลองดังกล่าวมีความสําคัญกับชาวบ้าน
- น้ําท่วมเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนลักษณะภูมิประเทศอย่างมากและรุนแรง
พื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าเดิมเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นแก้มลิงในการรองรับน้ําช่วงฤดูน้ําหลาก และได้มีการถม
ที่ดินดังกล่าวสูงประมาณ ๘ เมตรจากระดับพื้นดินเดิม ทําให้ต้นจากตามธรรมชาติที่ชาวบ้านประกอบ
อาชีพลอกใบจากขายหายไป และพื้นที่นาเดิมที่เคยประกอบอาชีพได้ก็เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่น้ําท่วม
รวมทั้งทําให้ภาวะน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปัจจุบันมีความรุนแรงและระดับน้ําท่วมสูงมากขึ้น
- การดึงน้ําในคลองนาทับไปใช้หล่อเย็นโรงไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลกับวิถีชีวิตของ
ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตร ทําสวน ทํานา ทําการประมง และอาชีพเพาะเลี้ยง คลองนาทับมี
ความสําคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรในอําเภอจะนะและพื้นที่จังหวัดสงขลา คลองนาทับตลอดทั้งสายมี
ความยาว ๒๖ กิโลเมตร ต้นน้ําอยู่ในตําบลจะโหนง ตําบลตลิ่งชัน ตําบลป่าชิง และตําบลคลองปียะ ส่วน
ปลายน้ําอยู่ในตําบลนาทับ นอกจากนี้จะกระทบกับป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ที่อยู่ตลอดแนวคลองนาทับ
ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ํา
- การปล่อยน้ําหล่อเย็นที่มีอุณหภูมิสูงและน้ําเสียสู่คลองนาทับพี่น้องชาวบ้าน
ตําบลนาทับ ตั้งแต่ต้นโรงไฟฟ้าถึงปลายน้ําได้รับผลกระทบปลาในกระชังก็เลี้ยงไม่ได้แล้วสัตว์น้ํา ปลา