Page 133 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 133
๑๑๙
โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ํายังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการกลั่นกรองรายละเอียดจากคณะกรรมการ
อุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ก่อนนําเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
๗) เหมืองแร่และโรงไฟฟ้าถ่านหินสะบ้าย้อย
นอกจากนี้พื้นที่จังหวัดสงขลายังมีแหล่งถ่านหินสะบ้าย้อยซึ่งมีขนาดใหญ่เป็น
อันดับสองของประเทศรองจากเหมืองแม่เมาะ โดยมีปริมาณถ่านหินสํารอง ปริมาณ ๑๓๔.๗ ล้านตัน
แอ่งสะบ้าย้อยครอบคลุมพื้นที่ อําเภอเทพา และ อําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา รวมทั้งบางส่วนของ
อําเภอโคกโพธิ์่ จังหวัดปัตตานี ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ได้รับสัมปทานทําเหมืองแร่
และวางแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวด้วย แต่ได้รับการคัดค้านจากชาวบ้านและ
ชุมชนในพื้นที่มาโดยตลอด และครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้
พยายามรื้อฟื้นโครงการขึ้นมาใหม่อีก โดยได้มีการจ้างนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี เพื่อศึกษาทําความเข้าใจผลดี ผลเสีย และรูปแบบการพัฒนาแหล่งหินลิกไนต์สะบ้า
ย้อย แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่จะดําเนินโครงการดังกล่าว รวมทั้งก็ยังไม่
ยอมให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าทําการศึกษาและจัดประชุมในพื้นที่
๕.๓.๓ ประเด็นการละเมิดสิทธิจากกรณีศึกษาจังหวัดสงขลา
๑) สิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเองและสิทธิในการพัฒนา
โครงการพัฒนาต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา นอกจากจะถูกวางแผนกําหนดมาจาก
แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้แล้ว ก็เป็นผลมาจากการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ๓ ฝ่าย ที่ศึกษาโดย
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน โดยธนาคารแห่งเอเชียที่มีญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ได้แสดงออกและสนับสนุนอย่างชัดเจนที่จะผลักดันให้เกิดการเชื่อมต่อท่อพลังงานระหว่างประเทศ
อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เช่นเดียวกับกรณีศึกษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัด
นครศรีธรรมราช จะเห็นได้ว่าชาวบ้านและชุมชนท้องถิ่นไม่ได้มีสิทธิในการกําหนดอนาคตของตนเองเลย
โครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ ที่เป็นกรณีร้องเรียนของชาวบ้าน ล้วนเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ
หน่วยงานภายนอกทั้งในระดับต่างประเทศและในประเทศเป็นผู้กําหนดทั้งนั้น และเป็นการละเมิดสิทธิ
ในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเองของชาวบ้านอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยที่ประชาชนใน
จังหวัดก็ไม่มีสิทธิไม่มีเสียงในการบริหารจัดการและพัฒนาจังหวัดท้องถิ่นของตนเองเลยรวมทั้งการขอ
อนุญาตดําเนินโครงการไม่ตรงไปตรงมาชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจการกําหนดทิศทางการ
พัฒนาของชุมชนอย่างแท้จริง