Page 129 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 129

๑๑๕







                  และกุ้งต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ก็ได้รับผลกระทบ สมัยก่อนชาวบ้านที่มีอาชีพหาปลาหากุ้งในคลอง ลงไป
                  สักชั่วโมงก็ได้แล้ว ๕-๖ กิโลกรัม แต่ตอนนี้ไปออกทั้งคืนก็ไม่ได้สักกิโลกรัม


                            -  ผลผลิตยางพาราลดลงชาวบ้านที่มีสวนยางพาราติดกับโรงไฟฟ้า น้ํายางจะ
                  ออกไม่เหมือนเดิมและมีปริมาณลดลง เนื่องจากโรงไฟฟ้าทําให้เกิดอากาศที่ร้อนจัด


                            -  เด็กกับผู้ใหญ่ป่วยตลอดทั้งปี ด้วยอาการ หอบหืด ไอ เป็นหวัด

                            -  กลิ่นและเสียงกระทบต่อสุขภาพ และยังมีผลกระทบไปยังสัตว์ต่าง ๆ เสียงนั้น

                  รบกวน ช่วงตี ๔ ตี ๕ ที่ชาวบ้านมีการละหมาด

                                ๓)  โครงการท่าเรือน้ําลึกสงขลา ๑


                             ท่าเรือน้ําลึกสงขลา ๑ ตั้งอยู่บริเวณเขาแดงนอก ตําบลหัวเขา อําเภอสิงหนคร มี

                  เนื้อที่บนฝั่ง ๒๕๐ ไร่ และเนื้อที่ในทะเล ๒๒๕ ไร่ รวมเป็น ๔๗๕ ไร่ ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ ๘ ท่า
                  ความยาว ๑,๕๐๐ เมตร  ทั้งนี้ก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ําลึกสงขลาไม่มีการคัดค้านจาก

                  ชาวบ้าน เนื่องจากยังไม่รู้ว่าจะมีผลกระทบ แต่เมื่อก่อสร้างท่าเรือแล้วเสร็จผลกระทบก็เกิดตามมาอย่าง
                  รวดเร็ว เนื่องจากพื้นที่ท่าเรือได้ไปกีดขวางทางน้ําที่ไหลออกจากทะเลสาบสงขลาสู่อ่าวไทย ทําให้

                  ทะเลสาบตื้นเขิน ปริมาณสัตว์น้ําลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้านเป็นวงกว้าง

                  จนกระทั่งปี ๒๕๔๖  ผลกระทบก็เริ่มหนักขึ้น เมื่อมีการสร้างแนวกันคลื่น ระยะทาง ๔๖๐  เมตร ทําให้
                  ทางน้ําถูกปิดโดยสิ้นเชิง สัตว์น้ําไม่สามารถเข้าออกระหว่างอ่าวไทย และทะเลสาบสงขลาได้ตาม

                  ธรรมชาติ เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งตามมาในที่สุด กลายเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในขณะนี้

                  ทําให้เกิดการรวมกลุ่มของชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนใกล้กับบริเวณท่าเรือน้ําลึก และชาวประมง
                  พื้นบ้านที่ทํามาหากินประกอบอาชีพอยู่รอบๆ ทะเลสาบสงขลา ในพื้นที่ ๓  จังหวัด คือ จังหวัดพัทลุง

                  จังหวัดสงขลา และ จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้มีการนําเสนอปัญหาดังกล่าวผ่านมติของ

                  คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลา ครั้งที่ ๒/๒๕๔๘ และส่งต่อเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี
                  เมื่อวันที่ ๒๙  พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘  ซึ่งได้มีมติที่ประชุมรับทราบนโยบายการดําเนินงานเพื่อแก้ไข

                  ปัญหาของกระทรวงคมนาคม ที่จะไม่ขยายท่าเรือน้ําลึกสงขลาระยะที่ ๒


                             จากเวทีสนทนากลุ่มพบว่าสถานการณ์ปัญหาปัจจุบัน สัตว์น้ําตามธรรมชาติที่
                  อาศัยอยู่ในทะเลสาบลดลงและหายไป เหลือแต่สัตว์น้ําที่กรมประมงมาปล่อยไว้ รวมทั้งหากเกิดน้ําท่วม

                  ที่จังหวัดกระบี่ น้ําจะไหลลงทะเลสาบตอนกลาง ในอดีตน้ําจะท่วมเพียง ๒-๓ วัน แต่ปัจจุบันน้ําจะท่วม

                  ขังนาน ๖-๗ วัน เพราะทะเลสาบมีสภาพเหมือนปากขวดทําให้น้ําไหลออกได้ช้า  นอกจากนี้ยังมีปัญหา
                  เรื่องตะกอนและน้ําเสีย บริเวณนั้นจะเป็นร่องน้ําที่มีเขื่อนกั้นทั้งทางตะวันออกและตะวันตก เรือสัญจร

                  ไปมาทําให้เกิดตะกอนเป็นตม และเรือยังมีการทิ้งน้ําเสียและกากน้ํามันซึ่งมีสารเคมีตกค้าง โดยเรือจะ
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134