Page 126 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 126
๑๑๒
แล้วส่งผ่านทางท่อไปที่ฝั่งมาเลเซียทั้งหมด โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ช่วงแรกจะ
ทําการผลิตก๊าซธรรมชาติ ๑๐๐-๒๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายหลังจากที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติสร้าง
เสร็จในปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงจะผลิตก๊าซธรรมชาติเต็มกําลังการผลิต โดยก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่จะ
ป้อนให้กับโรงไฟฟ้าและโรงงานผลิตปุ๋ย
ระยะที่ ๒ แบ่งเป็นการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเดิมที่ A ๑๘ ปริมาณการผลิต
๔๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ให้กับบริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จํากัด (มหาชน) ขึ้นที่ฝั่งไทย
ทั้งหมด โดยจะเริ่มต้นการผลิตตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ และจะแบ่งเป็นผลิตเพื่อป้อนให้กับโรงไฟฟ้าสงขลาของ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปริมาณ ๑๐๐-๑๕๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
และส่วนที่เหลืออีก ๒๕๐-๓๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จะถูกส่งไปที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดต่อไป
ส่วนโครงการท่อส่งก๊าซ ไทย-มาเลเซีย ใช้เงินลงทุนในเบื้องต้น ๔๓,๐๐๐ ล้านบาท
ส่วนที่ ๑ คือ การก่อสร้างท่อก๊าซในทะเลและบนบก โดยมีความยาวท่อในทะเล
๒๗๗ กิโลเมตร ต่อจากพื้นที่ทับซ้อนร่วมกันของไทยและมาเลเซียในอ่าวไทย ขึ้นฝั่งที่อําเภอจะนะ
จังหวัดสงขลา โดยท่อบนบกมีความยาว ๙๘ กิโลเมตร ต่อจากจะนะไปที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติบริเวณ
ใกล้เคียงกับจุดขึ้นบก และต่อไปยังประเทศมาเลเซียผ่าน ๔ อําเภอ ในจังหวัดสงขลา คือ อําเภอจะนะ
อําเภอนาหม่อม อําเภอหาดใหญ่ และอําเภอสะเดา การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมดได้แล้วเสร็จเมื่อ
ต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๘
ส่วนที่ ๒ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ แล้วเสร็จ และเปิดเดิน
เครื่องจักรในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มูลค่าการลงทุนรวม ๓๙,๐๐๐ กว่าล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด ๙๕๐ ไร่
ที่บ้านตลิ่งชัน และ บ้านวังงู ตําบลตลิ่งชัน อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ๒ โรง
กําลังการผลิตโรงละ ๔๒๕ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดของ
ประเทศไทย
โครงการทั้งสองได้รับการคัดค้านมาโดยตลอดตั้งแต่การเริ่มขั้นตอนการศึกษา
โครงการในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สิ่งที่ชาวบ้านคัดค้านคือ ไม่ต้องการให้มีเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นใน
พื้นที่ รัฐบาลได้เบี่ยงเบนประเด็นว่า จะมีเพียงท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ จะไม่มีการก่อสร้าง
นิคมหรือเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่อย่างแน่นอน และสิ่งที่รัฐบาลไม่สามารถเปิดเผยกับประชาชน คือ
สัญญาระหว่างประเทศที่ทําไว้กับมาเลเซียว่ามีเงื่อนไขอย่างไร ประเทศไทยได้หรือเสียเปรียบอย่างไรใน
สัญญาที่รัฐบาลไปทําไว้ รวมทั้งรัฐบาล และ บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จํากัด (มหาชน) ไม่ควร
ตัดสินใจดําเนินการโครงการนี้โดยพละการ การทําสัญญาซื้อขายและก่อสร้างท่อก๊าซโดยที่ประชาชนใน
พื้นที่ไม่ได้รับรู้ ไม่มีการทําประชาพิจารณ์ ไม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม